Quantcast
Channel: Thai Workforce
Viewing all articles
Browse latest Browse all 233

ความปลอดภัยจากอุปกรณ์และสิ่งแวดล้อม

$
0
0

1. ทางเดิน พื้นของที่ทำงาน

ทางเดิน

Check Point

1. ทางเดินมีความกว้างมากกว่า 80 เซนติเมตร และมีเส้นสีขาวแสดงเป็นสัญลักษณ์หรือไม่

2. สถานที่สำหรับวางของมีสัญลักษณ์แสดงไว้หรือไม่

3. พื้นผิวทางเดินเปียกนํ้าหรือลื่นหรือไม่

4. แสงสว่างเหมาะสมหรือไม่

5. จุดที่เป็นทางผ่านของสายพานลำเลียง เพลา และท่อ มีสะพานเดินข้ามอยู่หรือไม่

6. ส่วนบนเหนือทางเดินมีสิ่งกีดขวางที่อาจจะชนศีรษะได้อยู่หรือไม่

7. บริเวณทางเข้าออกมีสิ่งของกองซ้อนกันอยู่ทำให้เกิดทัศนวิสัยที่ไม่ดีหรือไม่

8. มีสิ่งของกองอยู่บริเวณปากทางออกฉุกเฉินและบันไดหรือไม่

พื้นของที่ทำงาน

Check Point

1. เมื่อเปียกนํ้าหรือนํ้ามันแล้วลื่นง่ายหรือไม่

2. มีรอยขรุขระหรือรอยชำรุดเสียหายหรือไม่

3. มีท่อระบายน้ำที่ไม่มีฝาปิดอยู่หรือไม่

4. การเดินสายไฟ ท่อต่าง ๆ เป็นระบบฝังอยู่ใต้พื้นหรือไม่

5. มีสิ่งของโผล่ขึ้นมาจากผิวหน้าของพื้นหรือไม่

6. มีวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และเศษวัสดุ ถูกวางกระจัดกระจายอยู่ตามพื้นหรือไม่

ช่องเปิด หลุม (Pit)

Check Point

1. บริเวณที่มีความสูงตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป มีพื้นติดตั้งอยู่หรือไม่

2. พื้นมีความแข็งแรง ไม่มีช่อง รอยแตกชำรุด และผุกร่อนหรือไม่

3. บริเวณรอบ ๆ พื้นและรอบช่องเปิด มีราวกันตกหรือราวจับติดตั้งอยู่หรือไม่

4. ที่ช่องเปิดมีราวจับที่มีความสูง 90 เซนติเมตร ขึ้นไป ติดตั้งอยู่หรือไม่

5. ที่บริเวณรอบ ๆ ช่องเปิดของปากบันได ยกเว้นฝั่งทางเข้าออกมีราวกันตกติดตั้งอยู่หรือไม่

ช่องเปิดชั้นลอยเก็บของ

Check Point

1. ที่ช่องเปิดมีฝาปิดที่มีความแข็งแรงเพียงพอติดตั้งอยู่หรือไม่ และบริเวณรอบ ๆ ช่องเปิดนั้นมีราวกันตกหรือราวจับติดตั้งอยู่หรือไม่

2. ในกรณีของงานที่ต้องมีการถอดราวกันตกและราวจับออก เมื่อเสร็จสิ้นงานนั้นแล้ว มีการใส่กลับเข้าไปให้เหมือนสภาพเดิมหรือไม่

3. ตำแหน่งของฝาปิดที่ช่องเปิดอยู่ในระนาบเดียวกับพื้น โดยมีตัวกันเหลื่อมติดตั้งอยู่หรือไม่

บันได

Check Point

1. สามารถขึ้นลงได้ง่ายหรือไม่

2. ที่ขั้นบันไดมีนํ้ามัน โคลน เปรอะเปื้อนอยู่หรือไม่

3. แถบกันลื่นชำรุดหรือเสียรูปหรือไม่

4. เหนือบันไดมีสิ่งกีดขวาง เช่น ท่อติดตั้งอยู่หรือไม่

5. ความสูงของราวจับเหมาะสมหรือไม่

นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่ควรคำนึงถึงดังต่อไปนี้

1. ความชันของบันไดควรจะทำมุมประมาณ 30-38° กับแนวราบ ขั้นบันไดควรมีความกว้างมากกว่า 23 เซนติเมตร และความสูงของแต่ละขั้นควรจะประมาณ 13-20 เซนติเมตร

2. สิ่งกีดขวางที่อยู่เหนือบันไดในระดับความสูงไม่เกิน 2.2 เมตร ให้ย้ายออก หรือพันด้วยนวมกันกระแทก และติดเครื่องหมายแถบเหลืองสลับดำ

3. ความสูงของราวจับควรจะอยู่ในระดับสูงจากผิวหน้าขั้นบันไดไม่ตํ่ากว่า 76 เซนติเมตร และไม่เกิน 86 เซนติเมตร

บันไดสำหรับปีนขึ้นที่สูง

1. บันไดลิง

Check Point

1. มีความแข็งแรงและถูกยึดให้อยู่กับที่อย่างแข็งแรงหรือไม่

2. ส่วนบนสุดของบันไดอยู่สูงกว่าระดับพื้นชั้นบนมากกว่า 60 เซนติเมตร หรือไม่

3. ขั้นบันไดอยู่ห่างจากผนังของอุปกรณ์ที่บันไดติดตั้งอยู่มากกว่า 20 เซนติเมตร หรือไม่

4. ระยะระหว่างขั้นบันไดห่างกันประมาณ 25-35 เซนติเมตร และเท่ากัน ทุกขั้นหรือไม่

5. บันไดลิงที่มีความสูงตั้งแต่ 5 เมตรขึ้นไป ตั้งแต่ระยะ 2.5 เมตร เหนือ พื้นข้างล่างขึ้นมามีราวกันตกติดตั้งอยู่หรือไม่

6. บันไดขั้นบนสุดอยู่ในระดับเดียวกับพื้นชั้นบนหรือไม่

2. บันไดพาดชนิดเคลื่อนย้ายได้

Check Point

1. มีโครงสร้างที่มั่นคงแข็งแรง มีการโก่งงอ โยกคลอนแคลน มีรอยแตกร้าว และผุกร่อนหรือไม่

2. ระยะระหว่างขั้นบันไดห่างกันประมาณ 25-30 เซนติเมตร และเท่ากันทุกขั้นหรือไม่

3. ที่ปลายด้านล่างมียางกันลื่นสวมอยู่หรือไม่

4. มุมในการพาด (มุมระหว่างพื้นและบันได) อยู่ในช่วงมุมประมาณ 60° – 75° หรือไม่

5. บันไดพาดอยู่กับบริเวณที่มีความแข็งแรงน้อย เช่น ขอบหน้าต่าง หรือไม่

6. พาดให้ส่วนบนของบันไดยื่นเลยจากจุดที่พาดขึ้นไปอย่างน้อย 60 เซนติเมตร หรือไม่

7. การใช้บันไดพาดบริเวณทางเดิน ทางผ่านเข้าออก รวมทั้งบริเวณใกล้เคียงนั้นเพี่อป้องกันการถูกชน มีการวางมาตรการเพี่อความปลอดภัย เช่น ติดป้าย “ระวัง” “ห้ามผ่าน” ฯลฯ หรือไม่

8. ส่วนบนของบันไดถูกยึดให้อยู่กับที่เพื่อป้องกันการล้มหรือไถลลงมาหรือไม่

9. ที่ขั้นบันไดเปื้อนนํ้ามันและลื่นหรือไม่

ตัวอย่างอุบัติภัย

ตกจากบันไดพาด ขณะปีนขึ้นไปขนของบนชั้นลอยที่เก็บของ

เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นที่โรงงานแห่งหนึ่ง ขณะที่มีการใช้บันไดยาว 2 เมตร พาดเพื่อจะขึ้นไปขนกระดาษกล่องลูกฟูกลงมาจากชั้นลอยเก็บของ เมื่อปีนขึ้นไปถึงชั้นที่ 3 (สูงจากพื้นประมาณ 90 เซนติเมตร) เกิดเหยียบพลาดทำให้หงายหลังตกลงมาที่ทางเดิน

มาตรการแก้ไข

1. ก่อนการใช้บันไดพาด จะต้องทำการตรวจเช็กโครงสร้างของบันได (มีการโยกคลอน โก่งงอ แตกร้าว และผุ หรือไม่) ระยะระหว่างขั้น และยางกันลื่น

2. พาดบันไดให้ทำมุม 60°-75° กับพื้น

3. พาดบันไดให้ส่วนบนยื่นเลยจากจุดที่พาดขึ้นไปไม่ตํ่ากว่า 60 เซนติเมตร และยึดให้อยู่กับที่

บันไดขาตั้ง

Check Point

1. มีโครงสร้างที่มั่นคงแข็งแรง มีการโก่งงอ โยกคลอนแคลน มีรอยแตกร้าว และผุกร่อนหรือไม่

2. มุมระหว่างขาบันไดกับพื้นมากกว่า 75° หรือไม่

3. บันไดชนิดที่สามารถพับเก็บได้ มีขายึดที่แข็งแรงสำหรับล็อกขาบันไดตอนกางออกหรือไม่

4. ขันบันไดมีความแข็งแรง และระยะระหว่างขั้นเท่ากันหรือไม่

ตัวอย่างอุบัติภัย

ตกลงมาจากบันไดขาตั้งขณะทำงาน

ขณะใช้บันไดขาตั้งชนิดที่ทำมาจากท่อขนาดความสูง 2 เมตร ปีนขึ้นไปทำการ ตกแต่งฝ้าเพดานอยู่นั้น ขายึดบันไดเกิดชำรุดแล้วหลุดออก ทำให้ขาบันไดถ่างออกเป็นผล ให้คนตกลงมาที่พื้นได้รับบาดเจ็บ

มาตรการแก้ไข

1. ก่อนการใช้บันไดขาตั้ง ให้ทำการตรวจเช็กสภาพแขนยึดเสียก่อน และไม่นำบันไดที่ขายึดชำรุดเข้ามาในสถานที่ทำงาน

2. ใช้แผ่นพื้นยางกันลื่น เพื่อป้องกันขาบันไดแยกออกหรือเปลี่ยนตำแหน่ง

3. ใช้เข็มขัดนิรภัยเมื่อทำงานในที่สูง

ไฟส่องสว่าง

1. อุณหภูมิ ความชื้น

Check Point

1. ในห้องทำงานที่มีอากาศร้อน (อุณหภูมิมากกว่า 28 °C) มีการใช้เครื่องปรับอากาศ หรือไม่

2. ในห้องทำงานที่มีอากาศเย็น (อุณหภูมิตํ่ากว่า 5°C) มีการใช้เครื่องทำความร้อน หรือไม่

3. ในห้องทำงานที่มีความชื้นสูง (ความชื้นสัมพัทธ์ 85% ขึ้นไป) มีมาตรการในการปรับความชื้นหรือไม่

4. มีการระเหยระบายอากาศร้อนที่เกิดจากเตาหลอมออกสู่อากาศภายนอกโดยตรง และมีมาตรการป้องกันผู้ปฏิบัติงานจากการแผ่รังสีความร้อนหรือไม่

5. กรณีที่ต้องลงไปในเตาหลอมเพื่อทำการซ่อมแซมในขณะที่เตายังร้อนอยู่มีมาตรการในการระบายความร้อนหรือไม่

6. การพ่นละอองนํ้าเพื่อเพิ่มความชื้น ใช้น้ำบริสุทธิ์หรือไม่

อุณหภูมิที่สบายสำหรับ

งานหนัก…………………7~10°C

งานเบา…………………..10~12°C

งานในสำนักงาน……..16~18°C

2. ไฟส่องสว่าง

Check Point

1. ความสว่างที่โต๊ะทำงานพอเหมาะหรือไม่

2. เพี่อไม่ให้เกิดความแตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่างส่วนที่สว่างและส่วนที่มืด มีการใช้ไฟส่องสว่างรวมร่วมกับไฟส่องสว่างเฉพาะจุดหรือไม่

3. กรณีของแสงไฟที่ส่องมาจากทางด้านหน้า แสงไฟส่องเข้าตาและรู้สึกแสบตา หรือไม่

4. ข้างในและข้างนอกของประตูเข้า-ออก มีความสว่างแตกต่างกันมากหรือไม่

5. Guide Plate ที่อยู่หน้าอุปกรณ์ให้แสงสว่าง บังแสงหรือความสว่างอยู่หรือไม่

6. หลอดไฟสกปรกหรือชำรุด ทำให้ความสว่างลดลงหรือไม่

มาตรฐานความสว่างที่โต๊ะทำงาน (JIS)

ชนิดของงาน

แสงสว่างเฉพาะจุด

แสงสว่างรวม

งานละเอียด

700 ~ 3000 LUX

มากกว่า 1/10 ของ แสงสว่างเฉพาะจุด

งานธรรมดา

300~ 700 LUX

งานหยาบ

70 ~ 300 LUX

วิธีที่จะทำไม่ให้เกิดการแสบตา

3. การถ่ายเทลม การระบายอากาศ

Check Point

1. ปริมาณอากาศในพื้นที่ที่ทำงานมีมากกว่า 10 ลูกบาศก์เมตร/คน หรือไม่

2. ในกรณีของการระบายอากาศตามธรรมชาติ พื้นที่ของหน้าต่างระบายอากาศ (หน้าต่างที่อากาศภายในสามารถผ่านออกสู่ภายนอกได้โดยตรง) มากกว่า 1/20 ของพื้นที่พื้นหรือไม่

3. พัดลมดูดอากาศ อุปกรณ์ระบายอากาศตามจุดต่าง ๆ และเครื่องปรับอากาศทำงานอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

4. มีการวางสิ่งของไว้ในตำแหน่งที่บังทิศทางของลมหรือไม่

5. ดูแลหน้าต่างและประตูให้อยู่ในสภาพที่สามารถเปิด-ปิดได้ง่ายหรือไม่

4. เสียง

Check Point

1. เสียงของ Air Blower ที่ใช้ในการเป่าแห้งและเป่าฝุ่นสูงเกินไปหรือไม่ 2. มีเสียงสูงที่เกิดจากลมรั่วออกมาจากวาล์วและท่ออากาศหรือไม่

3. มีเสียงดังผิดปกติจากเกียร์และแบริ่ง เนื่องจากเกิดการสึกหรอหรือนํ้ามันแห้ง หรือไม่

4. มีเสียงรบกวนจากการโยนชิ้นส่วนโลหะลงในภาชนะรองรับที่เป็นโลหะโดยตรงหรือไม่

5. มีเสียงจากการกระแทกกันโดยตรงของโลหะเกิดขึ้นหรือไม่

6. มีเสียงที่เป็นผลมาจากสกรูยึด Belt Cover และฝาหลวมหรือไม่

7. มีเสียงการสั่นสะเทือนที่เกิดจากการติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ไม่ดีหรือไม่

8. มีเสียงดังเนื่องจากพัดลมระบายอากาศสกปรกหรือชำรุดหรือไม่

9. ทำงานโดยเปิดประตูห้องเก็บเสียงทิ้งไว้หรือไม่

10. ในหน่วยงานที่มีเสียงดังมาก ๆ (มากกว่า 85 Phon) มีการใช้ Ear Plug หรือไม่

11. Ear Plug สะอาดหรือไม่ และเตรียมไว้เพียงพอกับจำนวนพนักงานหรือไม่

มาตรการป้องกันเสียง

มาตรการป้องกันเสียงที่เกิดขึ้นในสถานที่ทำงานสามารถทำได้โดยการควบคุมการ เกิดเสียงด้วยมาตรการดังต่อไปนี้

1. ติดตั้งตัวเก็บเสียง (Silencer) เข้ากับช่องระบายอากาศ เช่น Air Valve

2. ใช้แผ่นยางติดเข้ากับกล่องรองรับชิ้นงานโลหะ เพื่อลดเสียงการตกกระแทก

3. พันวัสดุกันการสะเทือนให้อยู่ระหว่างเครื่องจักรที่สั่นสะเทือนกับพื้น

4. หุ้มห่อต้นกำเนิดเสียงด้วยวัสดุเก็บเสียง

5. นำต้นกำเนิดเสียงออกให้ห่างจากสถานที่ทำงาน เช่น วางไว้ใต้พื้น

6. ลดความสูงในการโยนชิ้นส่วนลงภาชนะรองรับให้ตํ่าลง

7. ลดแรงดันของ Air Blower ลง

5. แสงที่เป็นอันตราย

1. ผู้ทำงานเชื่อมด้วยไฟฟ้าและเชื่อมด้วยแก๊ส มีการสวมแว่นตากันแสงหรือไม่

2. เลือกใช้เลนส์และชนิดของแว่นตาที่เหมาะสมกับลักษณะงานและความเข้มของแสงที่เกิดขึ้นหรือไม่

3. บริเวณรอบเครื่องจักรอัตโนมัติที่ปล่อยแสงที่เป็นอันตราย มีแผ่นกันแสงติดตั้ง อยู่หรือไม่

4. แว่นตากันแสงถูกเก็บรักษาไว้อย่างถูกสุขลักษณะหรือไม่

6. งานที่มีอันตรายจากสภาวะขาดออกซิเจน

1. ก่อนเริ่มงานมีการวัดความเข้มข้นของออกซิเจนก่อนหรือไม่

2. ผู้ควบคุมงานเป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกมาหรือไม่

3. มีการวางผู้สังเกตการณ์ไว้นอกบริเวณที่ทำงานหรือไม่

4. มีป้ายดังต่อไปนี้ เช่น บุคคลภายนอกห้ามเข้า ชื่อผู้ควบคุมงานและตำแหน่ง ฯลฯ แสดงไว้ในที่มองเห็นได้ง่ายหรือไม่

5. มีการเตรียมเครื่องช่วยหายใจไว้ในบริเวณที่ทำงานหรือไม่

ตัวอย่างอุบัติภัย

ขาดออกซิเจนขณะทำงานเชื่อมอยู่ภายในถัง

ขณะที่ทำงานเชื่อมโดยใช้ก๊าชอาร์กอน (Argon) อยู่ภายในถัง เกิดการสะสมกันของก๊าซอาร์กอนในปริมาณที่มากเกินไป จนทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานล้มลงโดยฉับพลัน

มาตรการแก้ไข

1. การใช้ก๊าชอาร์กอน (ก๊าชเฉื่อยที่มีนํ้าหนักเป็น 1.4 เท่าของอากาศ) ในงาน เชื่อมภายในถังที่มีสภาพการถ่ายเทอากาศไม่ดี จะต้องทำการระบายอากาศ ในปริมาณที่มากเพียงพอ

2. วัดปริมาณออกซิเจนเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง ตลอดการปฏิบัติงาน 3. ในการช่วยเหลือจะต้องเตรียมเครื่องช่วยหายใจไว้เสมอ


Viewing all articles
Browse latest Browse all 233

Trending Articles