อุปกรณ์ลำเลียง
1. อุปกรณ์ลำเลียงทั่วไป
Check Point
1. ที่ส่วนถ่ายทอดกำลังของอุปกรณ์ลำเลียง มีการติดตั้งครอบปิดไว้หรือไม่ 2. ที่สายพาน มู่เล่ ลูกกลิ้ง โซ่ รางโซ่ และสกรู มีครอบปิดไว้หรือไม่
3. มีสัญลักษณ์แสดงสวิตช์ปิด-เปิดเครื่องอย่างชัดเจนและควบคุมการใช้งานเครื่องได้ง่ายหรือไม่
4. สวิตช์ในข้อ 3 สามารถทำให้เครื่องทำงานได้โดยไม่ตั้งใจ ในกรณีที่เกิดการ สัมผัสถูกโดยบังเอิญหรือด้วยแรงสั่นสะเทือนหรือไม่
5. พี้นของแพลทฟอร์ม (Platform) ซึ่งเป็นทางเดินที่ติดอยู่กับสายพานลำเลียงมี อันตราย เช่น อาจจะเกิดการสะดุดหรือลื่นหรือไม่
6. ความกว้างของทางเดินที่แพลทฟอร์มกว้างกว่า 60 เซนติเมตร หรือไม่
7. ที่ทางเดินในข้อ 6 มีราวจับที่มีความสูงมากกว่า 90 เซนติเมตร พร้อมกับราว กลางติดตั้งอยู่หรือไม่
8. แนวทางเดินที่ตัดผ่านสายพานลำเลียง มีสะพานข้ามที่มีราวจับความสูงมากกว่า 90 เซนติเมตร พร้อมราวกลางติดตั้งอยู่หรือไม่
9. ที่อุปกรณ์ลำเลียง มีสวิตช์หยุดฉุกเฉินติดตั้งอยู่หรือไม่
10. ที่อุปกรณ์ลำเลียง มีสัญญาณแจ้งเมื่อเครื่องท่างานติดตั้งอยู่หรือไม่
11. บริเวณสวิตช์หยุดฉุกเฉิน มีวัตถุกีดขวางอยู่หรือไม่
2. สายพานลำเลียง
Check Point
1. มีอุปกรณ์ช่วยวางชิ้นงานให้อยู่ตรงกลางสายพานหรือไม่
2. มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากการที่ของหล่นหรือลื่นตกลงมาจากสายพานหรือไม่ (กรณีของสิ่งของมีขนาดเล็กและอยู่อย่างกระจัดกระจายใช้ได้แต่เฉพาะ Slope Conveyor เท่านั้น)
กรณีที่ไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์ในข้อ 2 มีดังนี้
* กรณีที่นํ้าหนักที่ Slope เมื่อโหลดเต็มที่แล้วไม่เกิน 500 กิโลกรัม หรือ นํ้าหนักของของ 1 ชิ้น ไม่เกิน 30 กิโลกรัม
* กรณีที่ไม่มีปัญหาเรื่องสายพานวิ่งเร็วเกินไปหรือวิ่งกลับทิศ
3. การขนส่งวัตถุจำพวกที่เกาะติดสายพานหรือมู่เล่ได้ง่ายด้วยสายพานลำเลียงที่สายพาน มีตัวท่าความสะอาดสายพาน และที่มู่เล่มี Pulley Scraper ติดตั้งอยู่หรือไม่
4. เพื่อป้องกันการไปสัมผัสขณะทำงานที่ช่องเปิดของ Hopper และ Chute มี ครอบติดตั้งอยู่หรือไม่
5. เพื่อป้องกันวัตถุที่ติดอยู่กับสายพานหล่นไปถูกสายพานด้านที่เวียนกลับมา มีการติดตั้งครอบเพื่อป้องกันหรือไม่
3. อุปกรณ์ลำเลียงชนิดอื่น ๆ
Check Point
1. อาจมีอันตรายจากการถูกหนีบด้วยแผ่น Slat Conveyor กับเสา และกล่อง ชิ้นส่วนหรือไม่
2. อาจมีอันตรายจากการถูกหนีบด้วยแผ่น Slat หรือไม่
3. อาจมีอันตรายจากการถูกหนีบที่จุดที่เป็นช่วงต่อจากสายพานลำเลียง หรือ Slat Conveyer มายัง Roller Conveyor หรือไม่
4. อาจมีอันตรายจากการถูกหนีบโดยโซ่ที่อยู่ด้านข้างของ Roller Conveyor หรือไม่
5. มีมาตรการป้องกันการล้มของสิ่งของขณะทำงานบน Roller Conveyor หรือไม่
6. ที่ส่วนปลายของ Roller Conveyor มี Stopper เฉพาะติดตั้งอยู่หรือไม่
7. อาจมีอันตรายจากการถูกหนีบด้วย Pallet ที่อยู่บน Pulley Flow Conveyor (Pallet Type) หรือไม่
8. อาจมีอันตรายจากการสัมผัสถูกของบน Overhead Conveyor และขอแขวน (Hanger) หรือไม่
9. อาจมีอันตรายจากการตกลงมาของของบนสายพานลำเลียงหรือจากขอแขวนหรือไม่
10. อาจมีอันตรายจากการที่ปลายขอแขวนมาเกี่ยวถูกร่างกายและเสือผ้าหรือไม่
รถยก (Forklift)
1. รถยกทั่วไป
Check Point
1. มีเครื่องแสดงทิศทางและอุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนอยู่หรือไม่
2. มีสัญญาณเตือนเวลาถอยหลังหรือไม่
3. มีอุปกรณ์ป้องกันศีรษะ (Headguard) ที่แข็งแรงหรือไม่
2. การควบคุมการใช้งาน
Check Point
1. ใช้รถยกและ Attachment ที่เหมาะสมกับนํ้าหนักและรูปร่างของสิ่งของที่จะยก หรือขนส่งหรือไม่
2. มีการตรวจเช็กประจำปี ประจำเดือน และก่อนการใช้งานอย่างเคร่งครัดหรือไม่
3. ความกว้างของทางวิ่งของรถยกกว้างกว่าตัวเลขต่อไปนี้หรือไม่
(ก) กรณีรถวิ่งสวนกัน L = 2l+90 (เซนติเมตร)
(ข) กรณีรถวิ่งทางเดียว L = l+60 (เซนติเมตร)
L คือความกว้างตํ่าสุดของทางวิ่ง
l คือ ความกว้างของรถยกหรือความกว้างของสิ่งของที่บรรทุกขึ้นอยู่กับว่า อะไรจะกว้างกว่ากัน (เซนติเมตร)
4. ความแข็งแรงของผิวหน้าของทางวิ่ง และสภาพการดูแลรักษาดีหรือไม่
5. บนผิวทางวิ่งมีสิ่งของวางเกะกะหรือยื่นเข้าไปในผิวทางวิ่งหรือไม่
6. มีการกำหนดการใช้ความเร็วและแสดงไว้ให้เห็นอย่างชัดเจนหรือไม่
7. มีการบรรทุกสิ่งของที่มีนํ้าหนักเกินกว่านํ้าหนักสูงสุดที่กำหนดไว้หรือไม่
8. มีคนเข้าไปอยู่ใต้รถยกหรือไม่
9. มีการให้คนไปยืนอยู่บนรถยกหรือไม่
10. ผู้ขับขี่สวมหมวกนิรภัย (Helmet) หรือไม่
11. ผู้ขับขี่มีมาตรการป้องกันที่แน่นอนไม่ให้รถเคลี่อนที่ไปขณะที่ไม่ได้อยู่ที่รถหรือไม่ รวมทั้งเมื่อถอดกุญแจออกแล้วเก็บไว้เป็นอย่างดีหรือไม่
12. ผู้ขับขี่เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมหรือไม่
3.ก่อนเริ่มปฏิบัติงาน
Check Point
1. อุปกรณ์ห้ามล้อและอุปกรณ์ควบคุมทำงานเป็นปกติหรือไม่
2. อุปกรณ์ยกนํ้าหนักและอุปกรณ์ไฮดรอลิกส์ทำงานเป็นปกติหรือไม่
3. ล้อมีความผิดปกติหรือไม่
4.ไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเลี้ยว และอุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนทำงานเป็นปกติหรือไม่
เครน
1. เครน
Check Point
1. อุปกรณ์ป้องกันลวดสลิงพันกัน
2. มี Stopper ป้องกันไม่ให้ลวดสลิงหลุดออกจากขอแขวนหรือไม่
3. สกรูของฝาครอบของสวิตช์ขาเหยียบหลุดอยู่หรือไม่
4. มีช่องว่างระหว่างปุ่มกดกับ Case ของสวิตช์ขาเหยียบหรือไม่
5. สัญลักษณ์ที่สวิตช์มองเห็นได้ง่ายหรือไม่
6. ที่ Portal Crane มีระบบหยุดฉุกเฉินหรือไม่
7. Stacker Crane ชนิดใช้คนควบคุม มีจุดที่ผู้ควบคุมสามารถยื่นส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายออกมานอกที่นั่งควบคุมหรือไม่
2. การควบคุมการใช้เครน
1. มีการตรวจเช็กเป็นระยะ ๆ (ประจำปี ประจำเดือน) และก่อนการใช้งานอย่าง เคร่งครัด และในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติ ได้ทำการแก้ไขโดยทันทีหรือไม่
2. ผู้ควบคุมเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดหรือไม่
3. ยกเว้นในกรณีที่มีอุปกรณ์โดยสารโดยเฉพาะติดตั้งอยู่แล้ว ผู้ควบคุมไปโดยสาร อยู่บนตัวแขนยกหรือบนสิ่งของที่ถูกยกหรือไม่
4. อุปกรณ์โดยสารมีโครงสร้างที่อาจจะเคลื่อนหรือหลุดตกลงมาหรือไม่
5. ในกรณีที่มีการซ่อมเครนที่อยู่บนรางเดียวกันกับตัวที่กำลังใช้งานอยู่ มีการวางมาตรการเพื่อป้องกันการชนกันของเครน และอันตรายจากการสัมผัสถูกเครนของ ผู้ปฏิบัติงาน โดยการจัดผู้สังเกตการณ์ไว้คอยดู และติดตั้ง Stopper บนรางเครน หรือไม่
3. ลวดสลิง (Wire Rope) สำหรับแขวน
Check Point
1. ผู้ที่ปฏิบัติการแขวนนํ้าหนักเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามกำหนดหรือไม่
2. ผู้ที่ทำการแขวนนํ้าหนักขนาดไม่เกิน 1 ตัน เป็นผู้ที่ผ่านการอบรมมาโดยเฉพาะ หรือไม่
3. การดูแลรักษาและตรวจเช็กลวดสลิงสำหรับแขวนนํ้าหนักถูกต้องหรือไม่
4. ใน 1 เกลียวของลวดสลิงมีจำนวนเส้นลวดที่ขาดเกิน 10% ของจำนวนเส้นลวด ทั้งหมดหรือไม่
5. การลดขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของลวดสลิงมากกว่า 7% หรือไม่
6. ลวดสลิงที่บิดเป็นปมหรือที่เสียรูปทรงอย่างชัดเจน และที่ผุกร่อนถูกนำมาใช้ หรือไม่