Quantcast
Channel: Thai Workforce
Viewing all articles
Browse latest Browse all 233

ความปลอดภัยจากวัตถุอันตราย

$
0
0

1. ไฟ

ปัจจัย 3 ประการที่ทำให้เกิดการเผาไหม้

Check Point

1. ก่อนการปฏิบัติการเชื่อมด้วยแก๊สและตัดด้วยแก๊ส มีการกำจัดวัตถุติดไฟที่อยู่ รอบ ๆ บริเวณที่ทำงานก่อนหรือไม่

2. เตาเผาและอุปกรณ์ให้ความร้อนด้วยไฟฟ้าต่าง ๆ ถูกวางอยู่บนวัสดุที่ไม่ติดไฟหรือไม่ และรอบ ๆ บริเวณมีสิ่งของที่ติดไฟง่ายวางอยู่หรือไม่

3. มีการกำหนดสถานที่สำหรับสูบบุหรี่ให้เป็นสัดส่วนหรือไม่

สถานที่สำหรับสูบบุหรี่จะต้องเลือกบริเวณที่มีความปลอดภัยที่อยู่ห่างจากวัตถุติดไฟ และมีเครื่องหมายแสดงที่ตั้งของที่เขี่ยบุหรี่ โดยที่เขี่ยบุหรี่จะต้องทำมาจากวัสดุชนิดที่ไม่ติดไฟและมีนํ้าใส่หล่อเอาไว้ด้วย

ส่วนในการเชื่อมและตัดด้วยแก๊สนั้นจะต้องคำนึงถึงในเรื่องต่อไปนี้

1. จะต้องใช้ความระมัดระวังในเรื่องของประกายไฟ เนื่องจากมันอาจกระเด็นไปไกลเกินกว่าที่คิดเอาไว้ และกลายเป็นต้นกำเนิดของไฟขึ้นมาได้

2. ในกรณีที่มีความยุ่งยากในการขจัดวัตถุที่ติดไฟง่ายออกจากบริเวณที่ทำงาน การใช้แผ่นกันประกายไฟก็เป็นวิธีที่ดีที่ควรนำมาใช้

2. วัตถุไวไฟ

Check Point

1. ฝาของภาชนะที่ใส่ทินเนอร์, ภาชนะที่ใส่สี ถูกเปิดทิ้งอยู่หรือไม่

2. ปริมาณที่ถูกนำเข้ามาในบริเวณที่ปฏิบัติงานมากเกินความจำเป็นหรือไม่

3. ภาชนะบรรจุถูกเก็บรักษาไว้ในห้องที่ปิดมิดชิดและไม่ติดไฟหรือไม่ 4. ที่ภาชนะบรรจุมีการเขียนกำกับแสดงรายละเอียดวัสดุภายในไว้หรือไม่

5. ในกรณีที่ต้องเก็บวัตถุไวไฟไว้บนชั้นวางของ มีการให้ความรู้ถึงมาตรการเพี่อป้องกันภาชนะล้มหรือตกลงมาหรือไม่

6. ในกรณีที่มีการแบ่งถ่ายแอลกอฮอล์หรือทินเนอร์มาใส่ภาชนะขนาดเล็กลงเพื่อใช้งาน ภาชนะขนาดเล็กที่ใช้แบ่งนั้นทำจากวัสดุที่แตกง่าย เช่น แก้ว เซรามิก ฯลฯ หรือไม่

อนึ่ง การนำภาชนะที่บรรจุสารไวไฟไปเก็บไว้ในตู้เย็นแบบปกติที่มิใช้อยู่ตามบ้าน เพื่อต้องการให้มีอุณหภูมิตํ่านั้น อาจเกิดการสปาร์คทำให้เกิดการระเบิดเป็นอันตรายขึ้นได้ ดังนั้นจึงต้องใช้ตู้เย็นชนิดที่มีโครงสร้างที่สามารถป้องกันการระเบิดได้

คุณสมบัติของวัตถุไวไฟและวัตถุติดไฟ

ตัวอย่างอุบัติภัย

น้ำมันเบนซินเกิดติดไฟและระเบิดขึ้นขณะกำลังล้างเครื่องจักร

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในโรงงานผลิตชิ้นส่วนสำหรับกล้องถ่ายรูปแห่งหนึ่ง ขณะที่มีการล้างเครื่องกลึงด้วยนํ้ามันเบนซิน โดยใช้นํ้ามันเบนซินประมาณ 5 ลิตร เทใส่ภาชนะโลหะ จากนั้นนำชิ้นส่วนที่ต้องการล้างลงไปล้างแล้วเช็ดด้วยผ้าจนแห้งเป็นอันเสร็จสิ้น แต่ระหว่างที่ล้างอยู่นั้นนํ้ามันเบนซินในภาชนะโลหะจะระเหยไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีความเข้มข้นของไอเบนซินสูงจนถึงขีดที่สามารถจะระเบิดได้ ประกอบกับในบริเวณนั้นมีเตาให้ความร้อน (Stove) กำลังใช้งานอยู่ทำให้เกิดการติดไฟและระเบิดขึ้น ทำให้อาคารไม้ 2 ชั้น กลายเป็นทะเลเพลิงขึ้นในทันที มีผู้เสียชีวิต 8 คน และบาดเจ็บสาหัส 2 คน

มาตรการแก้ไข

1. ไม่ใช้นํ้ามันเบนซินในการล้างสิ่งของ

2. ห้ามใช้ไฟในบริเวณที่มีไอระเหยที่ไวไฟ

3. วัตถุติดไฟ

Check Point

มีมาตรการที่จะป้องกันไม่ให้ผงโลหะ (อะลูมิเนียม, แมกนีเซียม) และโปตัสเซียมไปสัมผัสถูกกับนํ้าหรือไม่

อนึ่ง ผงของอะลูมิเนียมและผงของแมกนีเซียม เมื่อทำปฏิกิริยากับนํ้าจะทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซึ่งสามารถทำให้เกิดการระเบิดได้

4. สารออกซิไดเซอร์ Check Point

มีการนำวัตถุที่รวมตัวอยู่กับออกซิเจนไปเก็บไว้ในบริเวณที่ ๆ มีอุณหภูมิสูง ทำตกหรือมีการกระชากลากถูหรือไม่

เนื่องจากวัตถุพวกนี้เมื่อได้รับความร้อนการกระแทก หรือการเสียดสี จะสามารถแตกตัวและปล่อยออกซิเจนออกมาได้ง่าย และถ้าวัตถุนี้ผสมอยู่กับวัตถุติดไฟจะทำให้เกิดการระเบิดได้

5. แก๊สไวไฟ (Inflammable Gas)

Check Point

1. สายส่งแก๊สอะเซทิลีน โพรเพน หรือออกซิเจน มีรอยชำรุด หัก หรือเสื่อมสภาพหรือไม่

2. ท่อแก๊ส กังแก๊ส มีรอยชำรุด ผุ หรือเป็นสนิมหรือไม่

3. ที่อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยสำหรับเครื่องเชื่อมแก๊ส มีระดับของนํ้าอยู่เหนือเส้นแดงหรือไม่

4. ส่วนต่อของสายส่งแก๊สต่อกันอยู่ด้วย Hose Band ที่ถูกขันอยู่อย่างแน่นหนาหรือไม่

5. จุกปิดหรือวาล์วของท่อแก๊สมีฝาครอบปิดหรือไม่

6. มีสัญลักษณ์กำกับแสดงชนิดของท่อแก๊สและทิศทางการไหลของแก๊สหรือไม่

7. มาตรวัดความดันที่ติดตั้งอยู่ที่ท่อส่งแก๊สออกซิเจน เป็นชนิดห้ามใช้กับนํ้ามันหรือไม่

8. บริเวณสถานที่ที่มีการใช้แก๊สโพรเพน มีอุปกรณ์เตือนภัยกรณีแก๊สรั่ว หรือมีอุปกรณ์ตัดการไหลของแก๊สติดตั้งอยู่หรือไม่

อนึ่ง ให้ใช้นํ้าสบู่ตรวจสอบตามรอยต่อและวาล์วของอุปกรณ์ต่าง ๆ ว่ามีการรั่วของแก๊สหรือไม่ นอกจากนี้มาตรวัดความดัน (Pressure Gauge) สำหรับท่อแก๊สออกซิเจน ซึ่งไม่มีป้ายแสดงว่า “No Oil”, “Use No Oil” หรือ “ห้ามใช้กับนํ้ามัน” เป็นต้น นั้น หากนำมาติดตั้งเพื่อใช้กับแก๊สออกซิเจน ซึ่งในขณะที่ทดสอบเกจวัดความดันนํ้ามันที่เหลือค้างในท่อที่ใช้จะมีออกซิเจนเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดอันตรายจากการเผาไหม้ระเบิดขึ้นได้

6. วัตถุเปื้อนนํ้ามัน

วัตถุเปื้อนนํ้ามันมีอันตรายดังต่อไปนี้

1. วัตถุเปื้อนนํ้ามันถ้านำไปทิ้งไว้รวมกันมาก ๆ ในภาชนะที่ไม่มีฝาปิด จะเกิด ปฏิกิริยากับออกซิเจนทำให้เกิดความร้อนและลุกเป็นไฟได้เอง

2. วัตถุเปื้อนนํ้ามัน ผงแมกนีเซียม ถ้าถูกเก็บไว้ในที่ที่สามารถสัมผัสกับแสงอาทิตย์ได้โดยตรง จะสามารถลุกเป็นไฟได้เอง ดังนั้นวัตถุพวกนี้จึงต้องแยกเก็บไว้ในภาชนะที่ไม่ติดไฟ และเก็บไว้ในที่ที่แสงอาทิตย์ส่องไม่ถึง

Check Point

วัตถุเปื้อนนํ้ามันถูกเก็บไว้รวมกันมาก ๆ ในภาชนะที่ไม่มีฝาปิดหรือไม่

10 วิธีป้องกันการลุกติดไฟได้เองตามธรรมชาติ

7. อุปกรณ์เก็บแก๊ส

Check Point

1. อยู่ในที่ที่ห่างจากอุปกรณ์ที่ใช้ไฟ 5 เมตรขึ้นไปหรือไม่

2. ที่ท่อส่งแก๊สทั้งท่อเมนและท่อย่อยมีอุปกรณ์นิรภัยติดตั้งอยู่หรือไม่

3. ภายในระยะ 5 เมตร มีการห้ามสูบบุหรี่ ห้ามใช้ไฟ หรือห้ามทำให้เกิด ประกายไฟหรือไม่

4. การปฏิบัติงานตัดด้วยแก๊สในบริเวณที่ที่อากาศถ่ายเทได้ไม่สะดวก มีการทำ การระบายอากาศอย่างพอเพียงหรือไม่

5. ที่บริเวณนั้นมีการติดตั้งอุปกรณ์ดับไฟที่เหมาะสมไว้หรือไม่

6. ผู้ปฏิบัติงานมีการสวมแว่นตานิรภัยและถุงมือหรือไม่

8. ถังแก๊สความดันสูง

Check Point

1. ไม่ตั้งวางถังแก๊สในที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 40 °C หรือไม่

2. ถังแก๊สถูกจัดให้ตั้งอยู่กับที่อย่างมั่นคง เพี่อป้องกันการล้มลงมาหรือไม่

3. มีการแยกถังที่มีแก๊สและถังเปล่าไว้คนละที่หรือไม่

4. มีการใช้จุกปิด (Cap) ปิดขณะทำการขนส่งถังแก๊สและขณะที่ไม่ได้ใช้แก๊สหรือไม่

5. ที่สถานที่เก็บถังแก๊สติดไฟหรือถังแก๊สมีพิษ มีป้ายเขียนข้อความดังต่อไปนี้ เช่น ไวไฟ ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามเข้า ฯลฯ ติดไว้หรือไม่

6. ที่บริเวณที่เก็บถังแก๊สมีพิษ มีการเตรียมพวก Sorbent หน้ากากป้องถัน ก๊าซพิษ และเครื่องช่วยหายใจไว้หรือไม่

9. อุปกรณ์พ่นสี

1. อุปกรณ์พ่นสีทั่วไป

Check Point

1. ภายในห้องพ่นสีมีการจัดวางสิ่งของอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยหรือไม่

2. เครื่องมือที่ใช้อยู่ในห้องพ่นสีและห้องผสมสี เป็นเครื่องมือชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟหรือไม่

3. อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้อยู่ในห้องพ่นสีและห้องผสมสี มีโครงสร้างเป็นชนิดที่ป้องกันการระเบิด (Explosion Proof) หรือไม่

4. ปืนพ่นสี (Spray Gun) ต่ออยู่กับสายดินหรือไม่

5. ก่อนการจุดหัวเตา (Burner) ของเตาอบ มีการระบายอากาศภายในห้องเผาไหม้ออกอย่างพอเพียงก่อนหรือไม่

6. ประตูกันการระเบิดของห้องเผาไหม้สามารถเปิดปิดได้อย่างดีหรือไม่ 7. ที่เตาอบและปล่องระบายควันมีนํ้ามันดิน (Tar) เกาะติดอยู่หรือไม่

8. หลอดไฟอินฟราเรดถูกนํ้าหรือมีการกระแทกกับสิ่งของต่าง ๆ หรือไม่

2. การพ่นสีชนิดใช้ไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Painting)

Check Point

1. อุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่ภายในห้องพ่นสีต่อสายดินไว้หรือไม่

2. ผู้ปฏิบัติงานใช้รองเท้ากันไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Shoe) แผ่นรองกันไฟฟ้า สถิต (Eletrostatic Mat) หรือไม่

3. หัวพ่นอยู่ห่างจากวัตถุที่จะพ่นเกินกว่า 25 เซนติเมตรหรือไม่

4. มีละอองของสีไปเกาะติดอยู่กับโซ่ของสายพานลำเลียง (Conveyor) และตัวแขวน วัตถุที่จะพ่นสี (Hanger) หรือไม่

5. ที่ห้องพ่นสีมีป้ายเขียนว่า “ไฟแรงสูง” ติดอยู่หรือไม่

อนึ่ง อุปกรณ์การพ่นลสีแบบไฟฟ้าสถิตนี้ใช้ไฟแรงสูงถึงประมาณ 6-8 หมื่นโวลต์ วิธีกำจัดไฟฟ้าสถิตสำหรับท่อและสายยางสามารถทำได้ดังนี้

10. อุปกรณ์อบแห้ง

1. อุปกรณ์อบแห้งทั่วไป

1. ผนังด้านนอกของอุปกรณ์ทำมาจากวัสดุที่ไม่ติดไฟหรือไม่

2. ผนังด้านใน ชั้นวางของข้างใน และโครงสร้าง ทำมาจากวัตถุชนิดไม่ติดไฟหรือไม่

3. กรณีของอุปกรณ์ชนิดที่ใช้แก๊สและน้ำมันเป็นต้นกำเนิดความร้อน อุปกรณ์นั้นมีโครงสร้างที่สามารถระบายอากาศออกจากห้องเผาไหม้ก่อนการจุดไฟแต่ละครั้งหรือไม่

4. ภายในทำความสะอาดได้ง่ายหรือไม่

5. ช่องเป็ดเข้า-ออก ช่องส่องดูภายใน และรูระบายอากาศ อยู่ในตำแหน่งที่ไม่สัมผัสกับเปลวไฟโดยตรงหรือไม่ และในกรณีที่จำเป็นสามารถปิดได้อย่างสนิทหรือไม่

6. มีอุปกรณ์วัดอุณหภูมิและอุปกรณ์ปรับอุณหภูมิติดตั้งอยู่หรือไม่

7. สายไฟฟ้าและสวิตช์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ติดอยู่กับอุปกรณ์อบแห้งนี้เป็นชนิดพิเศษเฉพาะงานหรือไม่

8. ในกรณีที่มีการใช้ความร้อนจากเปลวไฟโดยตรง มีฉากหรือผนังกั้นหรือไม่

2. อุปกรณ์อบแห้งวัตถุอันตราย

1. อาคารที่เป็นที่ตั้งของห้องอบวัตถุอันตราย เป็นอาคารชั้นเดียวหรือมีโครงสร้างที่ทนไฟหรือไม่

2. ด้านข้างและด้านล่างของอุปกรณ์ประกอบขึ้นจากวัสดุที่แข็งแรงสามารถทนต่อแรงระเบิดได้หรือไม่

3. ด้านบนของอุปกรณ์ประกอบขึ้นจากวัสดุที่มีนํ้าหนักเบาหรือไม่

4. มีช่องและประตูระเบิดที่มีประสิทธิภาพติดตั้งอยู่หรือไม่

5. อุปกรณ์ระบายก๊าซ ไอนํ้า และฝุ่นจากภายในผิดปกติหรือไม่

6. ใช้ความร้อนจากเปลวไฟโดยตรงหรือไม่

7. ภายในมีอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือสายไฟที่สามารถก่อให้เกิดประกายไฟติดตั้งอยู่หรือไม่

11. ฝุ่นละอองที่มีคุณสมบัติติดไฟได้

Check Point

1. ที่อุปกรณ์และท่อต่าง ๆ มีรู (Vent) ติดตั้งอยู่หรือไม่

2. สายพานลำเลียงและท่อต่าง ๆ มีอุปกรณ์ตัดหรือหยุดฉุกเฉินติดตั้งอยู่หรือไม่

3. กระบวนการที่มีการเกิดฝุ่นละออง มีการปิดอย่างมิดชิดหรือไม่

4. อาคารสถานที่ที่เป็นแหล่งผลิตหรือใช้วัสดุที่เป็นฝุ่นผง ถูกสร้างด้วยวัสดุทนไฟหรือไม่ รวมทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในอาคารสถานที่นั้นเป็นชนิดป้องกันการระเบิดหรือไม่

5. สถานที่นั้นเป็นที่ที่ฝุ่นละอองสะสมได้ยากและสามารถทำความสะอาดได้ง่ายหรือไม่

6. มีการกำจัดต้นเหตุของการติดไฟตามธรรมชาติ มีการป้องกันการสะสมและปะปนของวัตถุที่เป็นต้นเหตุของการติดไฟตามธรรมชาติหรือไม่

7. มีการหลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนจากเปลวไฟโดยตรง รวมทั้งการใช้วัตถุที่มีความร้อนสูงหรือไม่ และความร้อนที่ใช้เป็นความร้อนที่ได้มาโดยทางอ้อมหรือไม่

8. มีการควบคุมดูแลเรื่องไฟอย่างเข้มงวดหรือไม่

9. งานเชื่อมโลหะทำแต่เฉพาะในสภาวะที่ปลอดภัยเท่านั้นหรือไม่

10. มีมาตรการในการป้องกันการเกิดประกายไฟจากการกระแทก การเสียดสี และการป้องกันส่วนของเครื่องจักรไม่ให้เกิดความร้อนหรือไม่

11. มีมาตรการป้องกันการสะสมของไฟฟ้าสถิตหรือไม่


Viewing all articles
Browse latest Browse all 233

Trending Articles