Quantcast
Channel: Thai Workforce
Viewing all articles
Browse latest Browse all 233

การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าสถิต

$
0
0

ไฟฟ้าสถิตมีอันตรายดังต่อไปนี้

1. บริเวณรอบ ๆ วัตถุที่เกิดประจุ ถ้ามีก๊าชที่ติดไฟ ไอนํ้า และฝุ่นละอองอยู่ ประกายไฟที่เกิดจากการสปาร์คจะทำให้เกิดการติดไฟและไฟไหม้ระเบิดขึ้นได้

2. การไปสัมผัสถูกวัตถุที่กำลังเกิดประจุไฟฟ้า ความตกใจที่เกิดจากการถูกไฟดูด จะเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น การตกจากที่สูงได้

3. เนื่องจากไฟฟ้าสถิตเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นได้ง่ายในช่วงที่อากาศหนาวและแห้ง (ความชื้นตํ่า) จึงควรระมัดระวัง

นอกจากนี้ยังมีกระบวนการที่ก่อให้เกิดไฟฟ้าสถิตได้ง่ายดังต่อไปนี้ คือ

1. กระบวนการที่ใช้ตัวลูกกลิ้งในการหมุนรีด แผ่นฟิล์ม กระดาษ ผ้า และวัสดุแผ่นบางต่าง ๆ เป็นต้น

2. กระบวนการดึงลอกเทปกาว และวัตถุขึ้นรูป เป็นต้น

3. กระบวนการส่งของเหลว หรือวัตถุที่มีสภาพเป็นผงไปตามท่อ

4. กระบวนการที่ก่อให้เกิดการเสียดสีของของแข็ง 2 ชนิด และกระบวนการที่มีการคนหรือคลุกเคล้าส่วนผสมของของเหลวกับวัตถุที่มีสภาพเป็นฝุ่นผง

5. กระบวนการที่เป็นการพ่นของเหลวหรือสีผ่านหัวฉีด

Check Point

1. แต่ละส่วนของเครื่องจักรและปล่องระบายควันต่ออยู่กับสายดินหรือไม่ 2. มีการติดตั้ง Earth Bond ที่ส่วนต่อของท่อต่าง ๆ หรือไม่

3. มีส่วนที่มีสีพ่นทับอยู่ต่ออยู่กับสายดินทั้ง ๆ สภาพที่เป็นฉนวนหรือไม่

4. ที่ผิวหน้าของพลาสติกชนิดที่มีความเป็นฉนวนสูง มีสารขจัดประจุทาอยู่หรือไม่

5. ท่อที่ทำด้วยพลาสติกมีเส้นลวดที่มีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้าพันเป็นเกลียวอยู่หรือไม่

6. กระบวนการที่ความชื้นไม่ทำไห้เกิดผลเสียใด ๆ นั้น มีการเพิ่มความชื้นให้มากกว่า 60% ขึ้นไปหรือไม่

7. สวมใส่ชุดปฏิบัติงานชนิดป้องก้นประจุและรองเท้ากันไฟฟ้าสถิตหรือไม่

ตัวอย่างอุบัติภัย ไฟไหม้เนื่องมาจากกระบวนการพิมพ์

ขณะที่กำลังเดินเครื่องพิมพ์อยู่นั้น ประจุไฟฟ้าขนาด 50 – 60 KV ที่เกิดอยู่บนกระดาษพิมพ์เกิดสปาร์คที่บริเวณใกล้ ๆ กับลูกปืนกระบอกสูบ แล้วทำให้หมึกพิมพ์เกิดติดไฟและไหม้กระดาษพิมพ์เสียหายไปบางส่วน

มาตรการแก้ไข

1. ผสมสารป้องกันประจุลงในหมึกพิมพ์

2. ขจัดประจุโดยการใช้ลูกกลิ้งยางที่มีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้า

3. ติดตั้งเครื่องขจัดประจุ หรือเครื่องทำความชื้น


Viewing all articles
Browse latest Browse all 233

Trending Articles