Quantcast
Channel: Thai Workforce
Viewing all articles
Browse latest Browse all 233

การตรวจเช็กเครื่องมืออุปกรณ์ไฟฟ้า

$
0
0

1. มอเตอร์

Check Point

1. มีความร้อนหรือกลิ่นที่ผิดปกติหรือไม่

2. มีเสียงดัง, เครื่องสั่นหรือไม่

3. ส่วนขันยึดต่าง ๆ ของตัวมอเตอร์หลวมหรือไม่

4.ส่วนเข้าสายหลวมหรือไม่

5. มีฝุ่นผง, นํ้ามัน และโคลนเปรอะเปื้อนอยู่หรือไม่

6. สายดินมีการผุกร่อน, ชำรุด และขาดหรือไม่

2. เครื่องมือประเภทมอเตอร์

Check Point

1. มีความร้อน กลิ่นผิดปกติ และเสียงดังหรือไม่

2. สายไฟและส่วนที่มีการขันยึดอื่น ๆ หลวมหรือไม่

3. สวิตช์เปิด-ปิดทำงานเป็นปกติหรือไม่

4. ส่วนต่อของสายมีการชำรุดหรือไม่

5. ขาปลั๊กตัวผู้ถูกทำให้โก่งงอหรือไม่

6. ใช้กับเต้าเสียบที่มีขั้วต่ออยู่กับสายดินหรือไม่

7. ในกรณีดังต่อไปนี้ มีเครื่องตัดวงจรเมื่อกระแสไฟฟ้าลัดวงจรลงดิน (Ground Fault Interrupter) ต่ออยู่หรือไม่

(ก) เมื่อมีการใช้เครื่องมือประเภทมอเตอร์มือถือขนาด 200 โวลต์ (เช่น สว่านไฟฟ้า เป็นต้น)

(ข) เมื่อมีการใช้เครื่องมือประเภทมอเตอร์มือถือขนาด 100 โวลต์ ในบริเวณที่ที่มีการนำไฟฟ้าที่ดี เช่น บริเวณที่เปียกชื้น บนโต๊ะระนาบ เป็นต้น

วิธีต่อลงดิน

“การต่อลงดิน” เป็นการนำแผ่นทองแดง, แท่งทองแดง, ท่อเหล็กอาบสังกะสี หรือแท่งเหล็ก ฯลฯ ซึ่งเรียกว่าขั้วดิน มาต่อเข้ากับเส้นลวดทองแดงแล้วฝังหรือตอกลงไปในดิน จากนั้นต่อสายลวดทองแดงให้ยาวขึ้นเพื่อไปต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการ (การต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการเข้ากับพื้นดินด้วยสายดิน)

บริเวณที่ฝังหรือตอกขั้วดินควรเป็นบริเวณที่เปียกชื้นและเป็นดินที่ไม่มีส่วนผสมของสารที่สามารถกัดกร่อนเนื้อโลหะได้ เช่น พวกกรดต่าง ๆ เป็นต้น

สายดินจะต้องมีคุณสมบัติที่สามารถมองแล้วรู้ได้ทันทีว่าเป็นสายดิน โดยจะต้อง เป็นสายหุ้มด้วยฉนวน PVC สีเขียว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.6 มิลลิเมตร ขึ้นไป ส่วนเครื่องมือที่จะต้องมีการเคลื่อนที่เวลาใช้นั้น ในสายของปลั๊กตัวผู้ที่จะไปต่อเข้ากับเต้าเสียบจะต้องมีเส้นหนึ่งหุ้มด้วยฉนวนสีเขียว โดยเส้นนี้จะเป็นเส้นที่ไปต่อเข้ากับเส้นของสายดิน

การเดินสายดินกับเครื่องไฟฟ้าแรงดันตํ่าดังกล่าวนี้เรียกว่า การเดินสายดินชนิดที่ 3 [จากพจนานุกรมศัพท์ไฟฟ้า 9th ed. สมาคมป้องกันภัยทางไฟฟ้าภาคพื้นคันโต (Kanto Denki Hoan Kyokai)]

เครื่องตัดวงจรเมื่อกระแสไฟลัดวงจรลงดิน

(Ground Fault Interrupter)

เครื่องตัดวงจรแบบนี้จะทำหน้าที่ตัดวงจรเมื่อการรั่วของกระแสของวงจรมากจนถึงค่าที่กำหนดไว้ (เครื่องที่มีความไวสูง ๆ = 5-30 มิลลิแอมแปร์) โดยเครื่องจะตัดวงจร ภายใน 0.1 วินาที เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่มีการต่อสายดินอยู่นั้น (เรียกว่าการเดินสายดิน ชนิดที่ 3) ในกรณีที่เกิดมีการรั่วของกระแสขึ้น กระแสส่วนที่ผ่านลงดินจะมากกว่าส่วนที่ผ่านร่างกายมนุษย์มาก (ความต้านทานไฟฟ้าของร่างกายมนุษย์จะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ขึ้นอยู่กับเครื่องแต่งกายที่สวมใส่และความเปียกชื้น ตั้งแต่ 500 โอห์ม จนถึง 1000 โอห์ม แต่ความต้านทานไฟฟ้าของการต่อลงดินมีไม่เกิน 100 โอห์ม)

ดังนั้น กระแสไฟที่รั่วส่วนใหญ่จึงไหลผ่านสายดินลงไปยังพื้นดิน มีส่วนน้อยที่ไหลผ่านร่างกายมนุษย์ และถ้ามีเครื่องตัดวงจรแบบนี้ติดอยู่ เครื่องก็จะทำงานตัดวงจร ซึ่งทำให้ความรุนแรงของการถูกไฟฟ้าช๊อตลดน้อยลง ซึ่งอัตราของการช่วยลดความรุนแรงของกระแสที่ไหลเข้าร่างกายมนุษย์ของเครื่องใช้ไฟฟ้า จะขึ้นอยู่กับความต้านทานของการต่อลงดินที่หม้อแปลงไฟฟ้าทางด้านแรงดันตํ่า (เรียกว่าการเดินสายดินชนิดที่ 2) กับที่เครื่องใช้ไฟฟ้านั้น โดยที่ว่ายิ่งความต้านทานของการต่อลงดินชนิดที่ 3 ที่เครื่องใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าที่หม้อแปลงไฟฟ้าเท่าใด ความปลอดภัยจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

[จาก พจนานุกรมศัพท์ไฟฟ้า 9th ed. สมาคมป้องกันภัยทางไฟฟ้าภาคพื้นคันโต (Kanto Denki Hoan Kyokai)]

เครื่องเชื่อมไฟฟ้า (A.C. Arc Welding Machine)

1. คีมจับลวดเชื่อม

Check Point

1. ใช้คีมจับแบบมีฉนวนหุ้มหรือไม่ (JIS C 9302)

2. ฉนวนหลุด, ไหม้ หรือมีเศษโลหะกระเด็น (Spatter) ติดอยู่หรือไม่

3.ส่วนต่อของสายไฟหลวมหรือไม่

4. มีการวางคีมจับลวดเชื่อมที่มีแรงดันไฟด้านทุติยภูมิเพิ่มขึ้นขณะไม่มีโหลด (Load) ทิ้งไว้ตามพื้น หรือบนโต๊ะปฏิบัติงานหรือไม่

2. สายไฟอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

Check Point

1. ฉนวนที่หุ้มสายไฟของเครื่องเชื่อมด้านที่ต่อกับ Power Supply (ด้าน ปฐมภูมิ) มีสภาพเรียบร้อยดีหรือไม่

2.  ฉนวนที่หุ้มสายไฟ (สายไฟสำหรับงานเชื่อม) จากเครื่องเชื่อมมายังคีมจับลวดเชื่อมมีสภาพเรียบร้อยดีหรือไม่

3. ขั้วของเครื่องเชื่อมด้านที่ออกจากตัวเครื่องไปยังคีมจับลวดเชื่อม (ด้านทุติยภูมิ) มีฉนวนหุ้มหรือไม่

4. มีการให้ความรู้ถึงมาตรการการป้องกันไม่ให้สายของคีมจับลวดเชื่อมไปอยู่ใต้ล้อรถยนต์หรือถูกทับด้วยของหนัก ๆ หรือไม่

5. การต่อสายคีมจับลวดเชื่อมใช้ Cord Connector ในการต่อหรือไม่

6. Return Line ของเครื่องเชื่อมทางด้านคีมจับลวดเชื่อมต่ออยู่กับชิ้นงานที่ ถูกเชื่อมหรือไม่

3. อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด

Check Point

ในการปฏิบัติงานด้วยเครื่องเชื่อมไฟฟ้า มีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟดูด หรือใช้เครื่องเชื่อมที่มีอุปกรณ์ป้องกันไฟดูดติดตั้งอยู่ในสถานที่ที่ส่วนใด ส่วนหนึ่งของร่างกายอาจสัมผัสถูกกับวัตถุที่เป็นตัวนำไฟฟ้ารอบข้างได้ง่าย

ก. ภายในหม้อไอน้ำและถังความดัน เป็นต้น

ข. สถานที่ยืนได้ไม่ถนัด เช่น บนเหล็กโครงสร้างของอาคารที่มีความสูง ตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป

ค. สถานที่อื่น ๆ ที่คล้าย ๆ กับที่กล่าวมาแล้ว


Viewing all articles
Browse latest Browse all 233

Trending Articles