Quantcast
Channel: Thai Workforce
Viewing all articles
Browse latest Browse all 233

สมรรถนะของรถตัก

$
0
0

สมรรถนะหรือความสามารถในการทำงานของรถตักโดยทั่วไปจะกำหนดด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ที่สำคัญคือ

1.  ขอบเขตของการทำงาน

จะกำหนดด้วยระยะต่าง ๆ ที่สำคัญคือ

1.1  ความสูงสูงสุดในการเท (maximum dump clearance or height) ก็คือระยะใน แนวดิ่งจากระดับพื้นจนถึงจุดตํ่าสุดของใบมีดของบุ้งกี๋ เมื่อบุ้งกี๋ถูกยกขึ้นสูงสุดและพลิกลงทำมุม 45 องศากับแนวระดับ ระยะสูงสุดในการเทนี้จะบอกถึงความสูงเมื่อเทแล้วถอยหลังรถกลับโดยไม่ต้องพลิกบุ้งกี๋ขึ้น ซึ่งความสูงของกระบะรถบรรทุกตํ่ากว่าระยะสูงสุดในการเทนี้ก็สามารถที่ จะเทแล้วถอยหลังรถออกเลยได้โดยไม่ต้องพลิกบุ้งกี๋ขึ้น แต่ถ้ากระบะของรถบรรทุกสูงกว่าก็จะต้องตรวจสอบความสูงของกระบะกับระยะความสูงถึงจุดหมุนของบุ้งกี๋ (hinge pin height) ถ้าความสูง ของกระบะตํ่ากว่าระยะความสูงดังกล่าว ก็แสดงว่าสามารถเทวัสดุได้แต่จะต้องพลิกกระบะขึ้น เสียก่อนที่จะถอยหลังออก

1.2  ระยะเข้าถึง (reach) ก็คือระยะในแนวระดับจากจุดหน้าสุดของตัวรถจนถึงจุดปลายของใบมีด เมื่อบุ้งกี๋ถูกยกขึ้นสูงสุดและพลิกลงทำมุม 45 องศากับแนวระดับ ถ้าระยะเข้าถึงมาก ก็จะทำให้ง่ายต่อการเทวัสดุในตำแหน่งที่ต้องการ

1.3  ความลึกในการขุด (digging depth) คือระยะในแนวดิ่งจากพื้นจนถึงด้านล่างของใบมีดของบุ้งกี๋เมื่อใบมีดอยู่ที่ตำแหน่งตํ่าสุด ระยะการขุดจะแสดงถึงความสามารถในการขุดของรถตัก

safety87 - 0005

2.  ขนาดของบุ้งกี๋

นิยมกำหนดตามมาตรฐาน SAE (Society of Automotive Engineers) ซึ่งจะกำหนด ขนาดของบุ้งกี๋เป็น 2 ลักษณะเช่นเดียวกับบุ้งกี๋ของรถขุดตักแบบตักเข้าหาตัวรถคือ

2.1  ขนาดเมื่อปาดเอาวัสดุออกเสมอปาก (struck capacity) ก็คือปริมาตรของวัสดุที่ อยู่ในบุ้งกี๋เมื่อปาดเอาวัสดุออกโดยระนาบตัดตลอดความกว้างของบุ้งกี๋จากปลายใบมีดจนถึงปลาย ของแผ่นกั้นหริอขอบกันล้น

2.2  ขนาดเมื่อวัสดุพูนอยู่ (heaped capacity) ก็คือปริมาตรของวัสดุทั้งหมดซึ่งเท่ากับปริมาตรของวัสดุที่อยู่ในบุ้งกี๋เมื่อปาดเอาวัสดุออกเสมอปากบวกกับปริมาตรของวัสดุที่พูนขึ้นด้วยความเอียง 2 : 1

3.  นํ้าหนักที่ตัวรถจะพลิก

นํ้าหนักที่ตัวรถจะพลิกคือนํ้าหนักต่ำสุดที่จุดศูนย์กลางของแรงดึงดูดของโลกของวัสดุที่ใส่ในบุ้งกี๋ตามมาตรฐาน SAE ที่จะทำให้ตัวรถพลิกพอดี สำหรับรถตักล้อยางจะพลิกรอบแกนที่จุดสัมผัสระหว่างพื้นกับล้อหน้า และจะเริ่มพลิกเมื่อล้อหลังลอยขึ้นจากพื้นพอดี ส่วนรถตักตีนตะขาบจะเริ่มพลิกเมื่อลูกรอกตัวล่าง(track roller) ลอยขึ้นจากสายพานตีนตะขาบพอดี การหานํ้าหนักที่ตัวรถจะพลิกตามมาตรฐาน SAE นี้ จะต้องหาในสภาวะตามรูปที่ 9.6 คือsafety87 - 0006

3.1  ตัวรถอยู่บนพื้นที่แข็งเรียบ และอยู่กับที่

3.2  บุ้งกี๋อยู่ที่ตำแหน่งพลิกเข้าหาตัวรถมากที่สุด

3.3  จุดศูนย์กลางของแรงดึงดูดของโลกของวัสดุในบุ้งกี๋อยู่ห่างจากตัวรถไปข้างหน้ามาก ที่สุดในขณะที่ยกบุ้งกี๋ขึ้น

3.4  ตัวรถมีนํ้าหนักขณะทำงานตามที่กำหนดไว้ในคุณลักษณะเฉพาะ (specifications) ของตัวรถ (ไม่มีการใช้นํ้าหนักถ่วงเพิ่มเติม)

ในกรณีของรถตักล้อยางที่มีการเลี้ยวแบบหักลำตัว การหานํ้าหนักที่ตัวรถจะพลิกนั้น นอกจากจะหาในตำแหน่งตัวรถตรงแล้วจะต้องหาที่ตำแหน่งตัวรถหักเลี้ยวมากที่สุดด้วย ซึ่งนํ้าหนักที่ตัวรถจะพลิกที่ตำแหน่งตัวรถหักเลี้ยวมากที่สุดนี้อาจจะน้อยกว่าที่ตำแหน่งตัวรถตรง

ตามมาตรฐานของ SAE จะกำหนดไว้ให้น้ำหนักของวัสดุที่จะตักขณะทำงานไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ของนํ้าหนักที่ตัวรถจะพลิกสำหรับรถตักล้อยาง และไม่เกิน 35 เปอร์เซ็นต์สำหรับรถตักตีนตะขาบ

4.  ความสามารถในการยก

คือนํ้าหนักสูงสุดที่จุดศูนย์กลางของแรงดึงดูดของโลกของวัสดุที่ใส่ในบุ้งกี๋ตามมาตรฐาน SAE ที่รถยกสามารถยกได้ที่ความสูงตามที่กำหนด เมื่อบุ้งกี๋อยู่ที่ตำแหน่งที่ทำให้วัสดุอยู่ในบุ้งกี๋มากที่สุด การหาความสามารถในการยกดามมาตรฐาน SAE นี้ จะต้องหาในสภาวะตามรูปที่ 9.7 คือ

safety87 - 0007

4.1  ตัวรถอยู่บนพื้นที่แข็ง เรียบ และอยู่กับที่ โดยที่ด้านหลังของตัวรถผูกยึดติดไว้กับพื้น

4.2  ตัวรถมีนํ้าหนักขณะทำงานตามที่กำหนดไว้ในคุณลักษณะเฉพาะของตัวรถ

5.  แรงงัดของบุ้งกี๋

ก็คือแรงสูงสุดในแนวดิ่งที่กระทำที่ระยะ 101.6 มิลลิเมตร (4นี้ว) จากปลายใบมีดของบุ้งกี๋เข้ามา แรงนี้อาจกระทำโดยการยกบุ้งกี๋หรือพลิกบุ้งกี๋รอบจุดหมุนก็ได้ ซึ่งการหาแรงงัดของบุ้งกี๋ ตามมาตรฐาน SAE นี้จะต้องหาในสภาวะคือ

5.1  ตัวรถอยู่บนพื้นที่แข็ง เรียบ และห้องเกียร์อยู่ที่ตำแหน่งว่าง

5.2  เบรกทุกชนิดอยู่ที่ตำแหน่งคลาย

5.3  ตัวรถมีนํ้าหนักขณะทำงานตามที่กำหนดไว้ในคุณลักษณะเฉพาะของตัวรถและด้าน หลังของตัวรถไม่มีการผูกยึดติดไว้กับพื้น

5.4  ใบมีดของบุ้งกี๋จะต้องขนานกับพื้น โดยจะต้องอยู่สูงกว่าหรือตํ่ากว่าพื้นไม่เกิน 25.4 มิลลิเมตร (1 นิ้ว)

safety87 - 0008

5.5  เมื่อวงจรการพลิกบุ้งกี๋ทำงานเพื่อที่จะหาแรงงัด จะต้องกำหนดจุดหมุนและจะต้อง รองรับจุดหมุนด้วยท่อนไม้เพื่อให้การเคลื่อนที่ของแขนต่าง ๆ มีน้อยที่สุด

5.6  เมื่อวงจรการยกบุ้งกี๋ทำงานเพื่อที่จะหาแรงงัด จะต้องกำหนดจุดหมุนสำหรับรถตัก ล้อยางจะต้องใช้ท่อนไม้รองรับเพลาหน้าเพื่อไม่ให้เกิดการเปลี่ยนตำแหน่งของจุดหมุนเนื่องจากยางอ่อนตัวยุบลง

5.7  ถ้าในขณะที่วงจรการพลิกหรือการยกบุ้งกี๋ทำงาน ด้านหลังของตัวรถยกขึ้นลอยจากพื้น แรงงัดก็คือแรงที่ทำให้ด้านหลังของตัวรถยกขึ้นพอดี


Viewing all articles
Browse latest Browse all 233

Trending Articles