Quantcast
Channel: Thai Workforce
Viewing all articles
Browse latest Browse all 233

รถดันดินตีนตะขาบเครื่องจักรกลงานก่อสร้าง

$
0
0

รถแทรกเตอร์ตีนตะขาบเมื่อติดใบมีดดันดินด้านหน้าก็จะเรียกว่ารถดันดินตีนขาบ (bulldozer) โดยทั่วไปสามารถเลือกใบมีดที่จะติดตั้งกับรถแทรกเตอร์ตีนตะขาบได้หลายแบบ ซึ่งจะเลือกตามลักษณะของวัสดุที่ใช้เครื่องจักรเคลื่อนย้าย เช่น ชนิด ขนาดและรูปร่าง ความแน่น และความชื้น เป็นต้น ใบมีดที่นิยมใช้กันมีอยู่ 4 แบบคือ

1.  ใบมีดแบบตัวยู (full-U blade) จะมีลักษณะใหญ่และมีปีกยยื่นออกมา 2 ข้าง เหมาะสำหรับงานดันย้ายวัสดุเบา ๆ ไปในระยะทางไกล ๆ โดยปีกที่ทำยื่นออกมาจะป้องกันไม่ให้วัสดุหนีออกจากใบมีดได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้สำหรับงานรวมกองวัสดุ ล้มกองวัสดุที่เป็นวัสดุเบา ๆ แต่ใบมีดจะไม่เหมาะกับงานขุด งานหิน และงานดันรถขูด (scraper)

2.  ใบมีดกึ่งตัวยู (semi-U blade) จะมีขนาดเล็กกว่าใบมีดแบบตัวยู สำหรับใบมีดที่ใช้กับรถขนาดเดียวกัน ใบมีดกึ่งตัวยูจะมีปีกยื่นออกมา 2 ข้างเช่นกัน แต่ปีกที่ยื่นออกจะน้อยกว่าแบบตัวยู สามารถใช้ในการเคลื่อนย้ายวัสดุที่หนักและทำงานขุดได้

safety79 - 0001

3.  ใบมีดแบบตรง (straight blade) เป็นใบมีดที่ใช้งานอเนกประสงค์ จะไม่มีปีกยื่นออกด้านข้าง เหมาะกับงานรวมกองวัสดุ แต่ระดับหยาบ ๆ ดันหิน ตัดร่องนํ้า เปิดหน้าดิน ต้นไม้ และก่อคันดิน สำหรับงานเคลื่อนย้ายวัสดุจะได้ปริมาณงานน้อยกว่าใบมีดแบบตัวยูและกึ่งตัวยู

4.  ใบมีดแบบเอียง (angle blade) เป็นใบมีดที่มีลักษณะคล้ายกับใบมีดแบบตรงแต่สามารถหมุนให้ใบมีดเอียงได้รอบแกนดิ่งทั้งซ้ายและขวา ทำให้สามารถดันวัสดุออกด้านข้างได้ จึงเหมาะสำหรับงานกลบปิดหลุมหรือร่องตื้น ๆ ตัดไหล่ทาง และงานอื่น ๆ เช่นเดียวกับใบมีดตรง

นอกจากใบมีดทั้ง 4 แบบข้างต้นแล้ว ยังมีใบมีดชนิดพิเศษอื่น ๆ อีก เช่น ใบมีดสำหรับใช้ดันรถอื่น เช่น รถขูด ใบมีดแบบขี่ (root rake) ใช้ในการตัดและสางรากไม้ เป็นต้น

การควบคุมตำแหน่งของใบมีดโดยทั่วไปสำหรับใบมีดแบบตัวยู ใบมีดแบบกึ่งตัวยูและแบบตรงจะสามารถปรับตำแหน่งของใบมีดได้ 3 ลักษณะคือ

1.  การยกใบมีดขึ้นเหนือระดับพื้น และกดใบมีดลงให้ตํ่ากว่าระดับพื้นดินเพื่อทำงานชุด รวมกองและงานดัดไหล่เขาหรือเนิน

2.  การควํ่าหรือหงายใบมีด (blade pitch) เพื่อปรับให้เหมาะสมกับสภาพของดิน ถ้าดินอ่อนก็จะหงายใบมีดขึ้น

3.  การเอียงใบมีดโดยการยกด้านใดด้านหนึ่งขึ้น (blade tilt) เพื่อปรับใบมีดให้เหมาะสมกับสภาพของดิน ในกรณีที่ดินด้านหนึ่งของใบมีดแข็งกว่าอีกด้านหนึ่งหรือในกรณีที่จะขุดพื้นที่แข็ง หรือมีหิน

ส่วนใบมีดแบบเอียงจะสามารถปรับตำแหน่งของใบมีดได้ 3 ลักษณะคือ

1.  การยกใบมีดขึ้นเหนือระตับพื้น และกดใบมีดลงให้ตํ่ากว่าระดับพื้น

2.  การเอียงใบมีดโดยการยกด้านใดด้านหนึ่งขึ้น

3.  การเอียงใบมีดรอบแกนดิ่งทั้งซ้ายและขวา ซึ่งใบมีดแบบเอียงนี้จะควํ่าหรือหงาย ใบมีดไม่ได้

safety79 - 0002

การยึดใบมีดติดกับตัวรถจะมี 2 แบบคือ การยึดใบมีดแบบตัวยู ใบมีดแบบกึ่งตัวยูและใบมีดตรงเข้ากับตัวรถจะใช้แขนดัน (push arm) 2 อัน แต่ละอันติดเข้ากับแทรกเฟรมและยึดติดกับด้านล่างของใบมีด นอกจากนี้ก็จะมีแขนต่อจากแขนดันในแนวทแยงไปยึดติดกับด้านบนของใบมีด เพื่อใช้ในการควบคุมการคว่ำหรือหงายใบมีดแขนเพื่อใช้ในการยกใบมีดขึ้นลง และแขนเพื่อใช้ ในการเอียงใบมีดโดยการยกข้างใดข้างหนึ่งของใบมีดขึ้น

สำหรับการยึดใบมีดแบบเอียงเข้ากับตัวจะใช้แขนดันลักษณะรูปตัวชี (C-frame) โดย ยึดติดกับแทรกเฟรมทั้งสองด้าน ส่วนตรงกลางจะเป็นจุดหมุนติดกับกึ่งกลางของใบมีด และมีแขนต่อสำหรับยกใบมีดขึ้นลง รวมทั้งแขนต่อเพื่อใช้ในการยกใบมีดข้างใดข้างหนึ่งขึ้นอีกด้วย

safety79 - 0003

ตัวใบมีดจะมีขอบ (cutting edge) และมุมใบมีด (comer) ซึ่งจะเป็นชิ้นส่วนที่ขันยึดติดกับตัวใบมีดโดยใช้สลักเกลียว และเมื่อสึกหรอก็จะถอดเปลี่ยนได้

การควบคุมตำแหน่งของใบมีดตามรายละเอียดข้างต้นนั้น ในปัจจุบันจะนิยมใช้ระบบ ไฮดรอลิกในการควบคุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการยกใบมีดขึ้นลง ส่วนการเอียง การควํ่าหงาย และการยกใบมีดด้านใดด้านหนึ่งขึ้นนั้น อาจจะใช้ระบบไฮดรอลิกหรืออาจจะใช้สกรูก็ได้


Viewing all articles
Browse latest Browse all 233

Trending Articles