ปริมาณงานที่รถตักด้านหน้าสามารถทำได้จะขึ้นอยู่กับ
1. ความจุของบุ้งกี๋ หมายถึงปริมาตรของวัสดุที่บุ้งกี๋สามารถขุดตักได้ในแต่ละครั้งหรือแต่ละรอบของการทำงาน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาดของบุ้งกี๋โดยจะคิดขนาดของบุ้งกี๋เมี่อวัสดุพูนอยู่เป็นหลัก แต่บุ้งกี๋จะมีความจุเท่าใดนั้นก็จะขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่จะทำการขุดตักด้วย โดยเขียนเป็นสมการคือ
ความจุของบุ้งกี๋ (ปริมาตรที่ฟูขึ้นของวัสดุ) = ขนาดของบุ้งกี้เมื่อวัสดุพูนอยู่ X สัมประสิทธิ์ของความจุ
สำหรับสัมประสิทธิ์ของความจุจะมีรายละเอียดตามตารางที่ 9.1
2. เวลาที่ใช้ในหนี่งรอบของการทำงาน หมายถึงเวลาที่ใช้ทั้งหมดในหนึ่งรอบของการทำงานของรถตักด้านหน้าซึ่งจะประกอบด้วยเวลาที่ใช้ในการขุดตักวัสดุเข้าบุ้งกี๋ เวลาที่เคลื่อนย้ายไปเท และเวลาที่ใช้ในการเท เวลาที่ใช้ในหนึ่งรอบของการทำงานของรถตักนิยมคิดจากเวลาพื้นฐานซึ่งจะใช้ประมาณ 25 วินาทีสำหรับรถตักด้านหน้าล้อยางแบบหักลำตัว โดยเวลาพื้นฐานนี้จะรวมเวลาที่ใช้ในการขุดตัก เวลาที่ใช้ในการเท เวลาที่ใช้ในการกลับทิศทางการเคลื่อนที่ 4 ครั้ง
และเวลาที่เคลื่อนย้ายไปเท สำหรับระยะทางที่สั้นที่สุด (ประมาณหนึ่งถึงสองเท่าของความยาวของตัวรถ) จากเวลาพื้นฐานก็จะคิดเวลาเพิ่มหรือลดตามสภาพทำงานจริงซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่จะขุดตัก สภาพของการเทวัสดุ และระยะทางในการเคลื่อนย้ายไปเทในกรณีที่ระยะทางมากกว่าระยะทางที่สั้นที่สุด การเพิ่มหรือลดเวลาตามชนิดของวัสดุจะมีรายละเอียตตามตารางที่ 9.2
และการเพิ่มหรือลดเวลาตามสภาพของการเทวัสดุจะมีรายละเอยดตามตารางที่ 9.3
ในกรณีที่ระยะทางในการเคลื่อนย้ายไปเทมากกว่าระยะทางที่สั้นที่สุด จะต้องหาเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ไปเท (haul time) และเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่กลับมาขุดตัก (return time) ด้วย โดยเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่สามารถหาได้จากสมการคือ
เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ (วินาที) = ระยะทาง (เมตร) X 3.6
ความเร็วของตัวรถ กม./ชม.
สำหรับระยะทางที่เคลื่อนที่เคลื่อนย้ายไปเท ก็คือระยะทางจากจุดที่ขุดตักเต็มบุ้งกี๋จนถึงจุดที่จะเท โดยจะไม่หักระยะทางที่สั้นที่สุดออกเพราะมีค่าน้อยมาก และบางครั้งในการเคลื่อนย้าย ไปเทอาจจะต้องมีการเลี้ยวซึ่งจะต้องเสียเวลาไปบ้าง เวลาที่รวมอยู่ในเวลาพื้นฐานสำหรับการเคลื่อนย้ายก็จะได้มาชดเชยเวลาที่เสียไปดังกล่าว ส่วนความเร็วของตัวรถในการเคลื่อนย้ายไปเท จะขึ้นอยู่กับสภาพของทางที่เคลื่อนย้ายไป ซึ่งกำหนดโดยความต้านทานการหมุนของล้อสามารถ หาได้จากกราฟตามรูปที่ 9.12
ความต้านทานการหมุนของล้อจะมีรายละเอียดตามตารางที่ 9.4 โดยค่าแรงต้านทานจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของนํ้าหนักของตัวรถ
อย่างไรก็ตามความเร็วที่อ่านได้ตามกราฟในรูปที่ 9.12 นั้น ถ้าเกินความเร็วสูงสุดที่ตัวรถจะเคลื่อนที่ไปได้ ก็จะต้องใช้ความเร็วสูงสุดที่ตัวรถจะเคลื่อนที่ไปได้ตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียด สมรรถนะของตัวรถ
ระยะทางที่เคลื่อนที่กลับโดยทั่วไปก็จะเท่ากับระยะทางที่เคลื่อนที่ไปเท แต่ความเร็วของตัวรถในการเคลื่อนที่กลับสามารถที่จะใช้ความเร็วสูงกว่าการเคลื่อนที่ไปเทประมาณ 1.5 เท่า แต่ก็จะต้องไม่เกินความเร็วสูงสุดที่ตัวรถทำได้เช่นกัน
จากความจุของบุ้งกี๋และเวลาที่ใช้ในหนึ่งรอบของการทำงาน ก็สามารถหาจำนวนรอบ ของการทำงานในหนึ่งชั่วโมงได้จากสมการ
จำนวนรอบของการทำงานในหนึ่งชั่วโมง = ประสิทธิภาพของการทำงาน(นาทีต่อชั่วโมง)x60
เวลาที่ใช้ในหนึ่งรอบของการทำงาน (วินาที)
และหาปริมาณงานที่รถตักสามารถทำได้จากสมการ
ปริมาณงานที่ทำได้ในหนึ่งชั่วโมง = จำนวนรอบของการทำงานในหนึ่งชั่วโมง X ความจุของบุ้งกี๋
สำหรับประสิทธิภาพของการทำงานจะขึ้นอยู่กับปัจจัยในการทำงานเช่นเดียวกับกา ทำงานของรถดันดิน ซึ่งโดยทั่วไปถ้าไม่มีอุปสรรคในการทำงานมากก็จะคิดประสิทธิภาพของการทำงานเท่ากับ 50 นาทีในหนึ่งชั่วโมง
เมื่อคิดปริมาณงานที่รถตักสามารถทำได้แล้วก็จะต้องกำหนดขนาดและจำนวนของรถบรรทุกที่จะใช้ร่วมกับรถตักในกรณีที่รถตักทำงานโดยการเทลงบนกระบะรถบรรทุกแล้วเคลื่อนย้ายไปเทในที่อื่น ซึ่งขนาดของรถบรรทุกโดยทั่วไปจะมีขนาดของกระบะเป็น 4 ถึง 6 เท่าของ ความจุของบุ้งกี๋ ส่วนจำนวนของรถบรรทุกก็จะขึ้นอยู่กับจำนวนของรถตัก เวลาที่รถบรรทุกจะต้องใช้ในการเคลื่อนย้ายไปเท เวลาที่เท และเวลาที่เคลื่อนที่กลับมารับวัสดุไปเทอีกครั้งหนึ่ง
ตัวอย่างการคำนวณหาปริมาณงานของรถตัก
ต้องการขุดตักดินเหนียวแข็งและเทลงบนกระบะรถบรรทุกที่มีหลายขนาด เพื่อเคลื่อนย้ายไปเทที่อื่น โดยใช้รถตักยี่ห้อ FIATALLIS รุ่น FR20 ขนาดของบุ้งกี๋เมื่อวัสดุพูนอยู่ 3.5 ลบ.ม. นํ้าหนักที่ตัวรถจะพลิกเท่ากับ 10,971 กิโลกรัม และให้คิดประสิทธิภาพของการทำงาน 45 นาทีต่อชั่วโมง
วิธีทำ
การคำนวณหาปริมาณงานของรถตักสามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้คือ
1. หาความจุของบุ้งกี๋
จาก ความจุของบุ้งกี๋ = ขนาดของบุ้งกี๋ X สัมประสิทธิ์ของความจุ
ตามตารางที่ 9.1 ค่าสัมประสิทธิ์ของความจุสำหรับดินเหนียวแข็งมีค่า 0.85-0.95 ใช้ค่า
0.9
ดังนั้นความจุของบุ้งกี๋ = 3.5 X 0.9 = 3.15 ลบ.ม.
ซึ่งเป็นปริมาตรที่ฟูขึ้นของดินเหนียวแข็งที่ขุดขึ้น
2. หาเวลาที่ใช้ในหนึ่งรอบของการทำงาน
จาก เวลาที่ใช้ในหนึ่งรอบของการทำงาน = เวลาพื้นฐาน ± เวลาที่เพิ่มหรือลดตาม
ปัจจัยต่าง ๆ + เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ ถ้าระยะทางเกินระยะทางที่สั้นที่สุด
เวลาพื้นฐานฟสำหรับรถตักด้านหน้าแบบหักลำตัวใช้เท่ากับ 25 วินาที เวลาที่เพิ่มเนื่องจากการขุดดินเหนียวแข็งตามตารางที่ 9.2 เท่ากับ +10 วินาที
เวลาที่เพิ่มเนื่องจากสภาพการเทลงในกระบะรถบรรทุกหลายขนาดตามตารางที่ 9.3 เท่ากับ +3 วินาที
สำหรับเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายเพิ่มเติมไม่มี เพราะโดยปกติแล้วรถบรรทุกจะเข้าไป อยู่ใกล้กับรถตักเท่าที่จะเป็นได้
ดังนั้น เวลาที่ใช้ในหนึ่งรอบของการทำงาน = 25 + 10 + 3 = 38 วินาที
3. หาจำนวนรอบของการทำงานในหนึ่งชั่วโมง
จาก จำนวนรอบของการทำงานในหนึ่งชั่วโมง =ประสิทธิภาพในการทำงาน x 60
เวลาที่ใช้ในหนึ่งรอบของการทำงาน
45 X 60≃ 71
38
4. หาปริมาณงานที่ทำได้ในหนึ่งชั่วโมง
จาก ปริมาณงาน = จำนวนรอบของการทำงาน X ความจุของบุ้งกี๋ในหนึ่งชั่วโมง
= 71 x 3.15 ≃ 223 ลบ.ม./ชม.
ซึ่งเป็นปริมาตรของดินเหนียวที่ฟูขึ้น และถ้าคิดเป็นปริมาตรของดินเหนียวเดิมก็สามารถ หาได้จากสมการ
ปริมาตรในสภาพเดิม = ปริมาตรที่ฟูขึ้น
1 + % ที่ฟูขึ้น
100
สำหรับ % ที่ฟูขึ้นหาได้จากตารางที่ 7.3 ของดินเหนียวซึ่งมีค่าเท่ากับ 30%
ดังนั้น ปริมาณในสภาพเดิมของดินเหนียวที่ขุดได้ในหนึ่งชั่วโมง = 223
1 +30
100
≃171 ลบ.ม.
5. ตรวจสอบนํ้าหนักที่ตัวรถจะพลิก
จาก นํ้าหนักของวัสดุในบุ้งกี๋ = ปริมาตร X ความหนาแน่น
ตามตารางที่ 7.3 ความหนาแน่นของดินเหนียวแห้งเมื่อฟูขึ้นเท่ากับ 1,400 กก./ลบ.ม. ดังนั้น นํ้าหนักของดินเหนียวแห้งในบุ้งกี๋ = 3.15 X 1,400 = 4,410 กก.
และ น้ำหนักของวัสดุในบุ้งกี๋ x 100 = 4,410x100
น้ำหนักที่ตัวรถจะพลิก 10,971
≃ 40 %
ซึ่งตามมาตรฐาน SAE กำหนดให้สำหรับรถตักล้อยางนํ้าหนักของวัสดุในบุ้งกี๋จะต้อง ไม่เกิน 50% ของนํ้าหนักที่ตัวรถจะพลิก จึงเห็นว่าใช้ได้ แต่ถ้าเกิน 50% จะต้องเปลี่ยนขนาดของ บุ้งกี๋ให้เล็กลง