Quantcast
Channel: Thai Workforce
Viewing all articles
Browse latest Browse all 233

ตัวอย่างการคำนวณหาปริมาณงานของรถดันดิน

$
0
0

1. ตามตัวอย่างในรูปที่ 7.12 ต้องการปรับระดับเหมืองที่ขุดแร่ออกหมดแล้ว โดยให้ มีความลาดลง -10% วัสดุที่จะต้องตัดและถมเป็นดินเหนียวแห้ง และรถดันดินที่จะใช้เป็นรถดันดินตีนตะขาบยี่ห้อ FIATALLIS รุ่น 41-B ใช้ใบมีดแบบตัวยู กว้าง 6.13 เมตร สูง 2.18 เมตร นํ้าหนัก ขณะทำงาน 69,470 กิโลกรัม และมีสมรรถนะตามรูปที่ 7.13

safety82 - 0005

วิธีทำ

การคำนวณหาปริมาณของรถดันดินตามความต้องการและข้อมูลข้างต้น ควรทำตามขั้นดอนคือ

1.  หาความจุของใบมีด

จาก ความจุของใบมีด = w X H2 X F

จากตารางที่ 7.4 ค่า F ของดินเหนียวเมื่อทำงานต้วยใบมีดแบบตัวยูมีค่าเท่ากับ 0.90

ดังนั้นความจุของใบมีด = 6.13×2.182x0.9

= 26 ลบ.ม. (ปริมาตรที่ฟูขึ้น)

2.  หาเวลาที่ใช้ในหนึ่งรอบของการทำงาน

เวลาที่ใช้ในหนึ่งรอบการทำงาน(วินาที) = เวลาที่ใช้ขุด(วินาที)+ เวลาที่ใช้ดัน (วินาที) + เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่กลับ (วินาที)

+ เวลาคงที่ (วินาที)

เวลาที่ใช้ขุด =        ระยะทางที่ใช้(เมตร) X 3.6

ความเร็วของตัวรถ (กม./ชม.)

สำหรับระยะทางที่ใช้ขุดจะคิดประมาณ 10 เมตร ส่วนความเร็วของตัวรถจะคิด 2 กม./ชม.

ดังนั้น เวลาที่ใช้ขุด = 10 X 3.6 = 18 วินาที

2

เวลาที่ใช้ดัน = ระยะทางที่ใช้(เมตร) X 3.6

ความเร็วของตัวรถ (กม./ชม.)

สำหรับระยะทางที่ต้องดันไป ดูตามรูปที่7.12 คือระยะทางจากจุดศูนย์กลางของปริมาตร ที่ตัดไปยังจุดศูนย์กลางของปริมาตรที่ถมซึ่งเท่ากับ 33 เมตร ส่วนความเร็วในการดันจะคิดประมาณ 70% ของความเร็วสูงสุดเมื่อทำงานด้วยเกียร์หนึ่ง (4.2 กม./ชม. อ่านจากกราฟตามรูปที่ 7.13) ซึ่งเท่ากับ 0.7×4.2 = 3 กม./ชม.

ดังนั้นเวลาที่ใช้ดัน = 33 X 3.6 = 40 วินาที

3

เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่กลับ =   ระยะทางที่ใช้ (เมตร)x 3.6

ความเร็วของตัวรถ (กม./ชม.)

สำหรับระยะทางที่ใช้ในการเคลื่อนที่กลับก็คือระยะทางที่ใช้ขุดบวกกับระยะทางที่ต้องดันไปคือ 10+33 = 43 เมตร ส่วนความเร็วที่ใช้ในการเคลื่อนที่กลับจะคิดประมาณ 80% ของความเร็วสูงสุดเมื่อทำงานด้วยเกียร์สอง (7.4 กม./ชม. อ่านจากกราฟตามรูปที่ 7.13) ซึ่งเท่ากับ 0.8 x 7.4 = 6 กม./ชม.

ดังนั้น เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่กลับ = 43 x 3.6 = 26 วินาที

6

เวลาที่คงที่สำหรับรถรุ่น 41-B แบบ powershift จะใช้เท่ากับ 0.05 นาทีหรือ 3 วินาที ฉะนั้น เวลาที่ใช้ในหนึ่งรอบของการทำงาน = 18+40+26+3 = 87 วินาที

3.  หาจำนวนรอบของการทำงานในหนึ่งชั่วโมง

จาก

จำนวนรอบของการทำงานในหนึ่งชั่วโมง=ประสิทธิภาพในการทำงาน(นาที/ชั่วโมง)x 60

เวลาที่ใช้ในหนึ่งรอบของการทำงาน (วินาที)

สำหรับประสิทธิภาพในการทำงานในสภาพการทำงานที่ดีจะคิด 50 นาทีในหนึ่งชั่วโมง  ดังนั้น จำนวนรอบของการทำงานในหนึ่งชั่วโมง = 50x60

87

≃ 34

4.  หาปริมาณงานที่ทำได้ในหนึ่งชั่วโมง

จาก ปริมาณงาน = จำนวนรอบXความจุของใบมีดXสัมประสิทธิ์ของความลาดชัน สำหรับตัวคูณความลาดชันเมื่อทำงานในทางลาดลง -10% ตามตารางที่ 7.6 จะมีค่าเท่ากับ 1.10

ดังนั้น ปริมาณงาน = 34×26x1.10 = 972 ลบ.ม./ชม.

ซึ่งเป็นปริมาตรของดินเหนียวที่ฟูขึ้นที่รถดันดินทำได้ในหนึ่งชั่วโมง และถ้าคิดเป็นปริมาตรของดินเหนียวในสภาพเดิมก็สามารถคิดได้จาก

ปริมาตรในสภาพเดิม = ปริมาตรที่ฟูขึ้น

1 +% ที่ฟูขึ้น

100

สำหรับ % ที่ฟูขึ้นหาได้จากตารางที่ 7.3 ซึ่งดันเหนียวจะมีค่าเท่ากับ 30%

ดังนั้น ปริมาตรในสภาพเดิมที่ทำได้ในหนึ่งชั่วโมง = 972 ≃747 ลบ.ม.

1+30

100

5. ตรวจสอบแรงฉุดลากสูงสุดที่ต้องการกับแรงจับของพื้น และกับสมรรถนะของตัวรถจาก แรงฉุดลาดที่ต้องการ = ความจุของใบมีดxความหนาแน่นเมื่อฟูขึ้น X สัมประสิทธิ์ของ ความเสียดทาน

สำหรับความหนาแน่นเมื่อฟูขึ้นดูไต้จากตารางที่ 7.3 ซึ่งดินเหนียวแห้งจะมีค่าเท่ากับ 1400 กม./ลบ.ม. และสัมประสิทธิ์ของความเสียดทานจากตารางที่ 7.5 ซึ่งดินเหนียวแห้งจะมีค่า0.4 ถึง 0.7 โดยจะใช้ค่าเท่ากับ 0.5

ดังนั้น แรงฉุดลากที่ต้องการ = 26×1400x0.5

= 18,200 กิโลกรัม

และจาก แรงจับของพื้น         = นํ้าหนักของตัวรถXสัมประสิทธิ์ของการจับของพื้น

สำหรับสัมประสิทธิ์การจับของพื้นจากตารางที่ 2.2 ของโคลนหรือดินเหนียวแห้งมีค่า เท่ากับ 0.90

ด้งนั้น แรงจับของพื้น          = 69,470×0.9

= 62,523 กิโลกรัม

ซึ่งมากกว่าแรงฉุดลากหรือแรงดันที่ต้องการ ตัวรถจะไม่มีการลื่นไถล และจากกราฟ แสดงสมรรถนะตามรูปที่ 7.11 ที่เกียร์หนึ่งความเร็วของตัวรถ 2 กม./ซม. แรงฉุดลากจะค่าประมาณ 45,000 กิโลกรัม ซึ่งมากกว่าแรงฉุดลากที่ต้องการมาก จึงเพียงพอต่อการขุดและเคลื่อนย้าย

2.  ตามรูปที่ 7.14 ต้องการขุดร่องเพื่อทำฐานรากของโครงสร้างขนาดไหญ่ ซึ่งแต่ ละร่องมีขนาดยาว 50 เมดร กว้าง 2.6 เมตร และลึก 2.0 เมตร โดยใช้รถดันตีนตะขาบ FIATALLIS รุ่น 8-B ใช้ใบมีดกึ่งตัวยู กว้าง 2.56 เมตร สูง 0.965 เมตร ความเร็วสูงสุดเมื่อใช้เกียร์ 1 เท่ากับ 4 กม./ชม. และเมื่อใช้เกียร์ 2 เท่ากับ 6 กม./ชม. นํ้าหนักของตัวรถขณะทำงาน 9,740 กิโลกรัม และดินที่ขุดเป็นดินแห้ง

safety83 - 0003

จงหาปริมาณงานที่รถดันตีนตะขาบดังกล่าวทำได้

วิธีทำ

1.  หาความจุของใบมีด

จาก ความจุของใบมีด = WxH2xF

และจากตารางที่ 7.4 ค่า F ของดินเมื่อทำงานด้วยใบมีดกึ่งตัวยู จะมีค่าเท่ากับ 0.75

ดังนั้น ความจุของใบมีด = 2.56 X 0.9652 X 0.75

= 1.79 ลบ.ม. (ปริมาตรที่ฟูขึ้น)

2.  หาเวลาที่ใช้ในหนึ่งรอบของการทำงาน

จาก เวลาที่ใช้ในหนึ่งรอบของการทำงาน (วินาที) = เวลาที่ใช้ขุด + เวลาที่ใช้ดัน

+ เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่กลับ+เวลาคงที่

เวลาที่ใช้ขุด              = ระยะทางที่ใช้ X 3.6

ความเร็วของตัวรถ

สำหรับระยะทางที่ใช้ชุดจะคิดประมาณ 2 เท่าของความกว้างของใบมีดหรือประมาณ 5 เมตร ส่วนความเร็วของตัวรถจะคิดเท่ากับ 2 กม./ชม.

ดังนั้นเวลาที่ใช้ขุด = 5 X 3.6 = 9 วินาที

2

เวลาที่ใช้ดัน = ระยะทางที่ใช้ x 3.6

ความเร็วของตัวรถ

ความเร็วของตัวรถจะคิดประมาณ 70% ของความเร็วสูงสุดเมื่อทำงานด้วยเกียร์ 1 เท่ากับประมาณ 3 กม./ชม.

ดังนั้น เวลาที่ใช้ดัน = 30 X 3.6 = 36 วินาที

3

เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่กลับ = ระยะทางที่ใช้ X 3.6

ความเร็วของตัวรถ

โดยระยะทางจะเท่ากับระยะทางที่ใช้ขุดบวกกับระยะทางที่ต้องดัน (5 + 30 = 35 เมตร) และความเร็วจะคิดประมาณ 80% ของความเร็วสูงสุดเมื่อทำงานด้วยเกียร์ 2 เท่ากับประมาณ5 กม./ชม.

ดังนั้นเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่กลับ = 35 X 3.6 = 25 วินาที

5

และเวลาคงที่สำหรับรถรุ่น 8-B แบบ powershift จะใช้เท่ากับ 3 วินาที

ฉะนั้น เวลาที่ใช้ในหนึ่งรอบของการทำงาน = 9 + 36 + 25 + 3 = 73 วินาที

3.  หาจำนวนรอบของการทำงานในหนึ่งชั่วโมง

จำนวนรอบของการทำงานในหนึ่งชั่วโมง = ประสิทธิภาพ X 60

เวลาที่ใช้ในหนึ่งรอบของการทำงาน

คิดประสิทธิภาพ 50 นาทีในหนึ่งชั่วโมง

ดังนั้น จำนวนรอบของการทำงานในหนึ่งชั่วโมง = 50x60

73

≃ 41

4.  หาปริมาณงานที่ทำได้ในหนึ่งชั่วโมง

จากปริมาณงาน = จำนวนรอบ X ความจุของใบมีด X สัมประสิทธิ์ของความลาดชัน ความลาดชันจะคิดเท่ากับความลาดชันที่ต้องดันดินขึ้นจากร่องลึก 2 เมตร ด้วยระยะทาง 30 เมตร ซึ่งความลาดชัน = 2/30 หรือ 6.7% จากตารางที่ 7.6 ค่าสัมประสิทธิ์จะมีค่าประมาณ 0.9

ดังนั้น ปริมาณงาน = 41 X 1.79 X 0.9  ≃  66 ลบ.ม./ชม.

และคิดเป็น ปริมาดรในสภาพเดิม = ปริมาตรที่ขึ้นฟู

1+ %ที่ขึ้นฟู

100

สำหรับ % ที่ฟูขึ้นจากตารางที่ 7.3 ดินแห้งจะมีค่าเท่ากับ 25%

จะได้ ปริมาตรไนสภาพเดิมที่ทำได้ในหนึ่งชั่วโมง = 6653 ลบ--

1 + 25

100


Viewing all articles
Browse latest Browse all 233

Trending Articles