การคำนวณหาปริมาณงานที่เครื่องจักรกลสามารถทำได้โนการเคลื่อนย้ายวัสดุนั้น เกี่ยวข้องกับสมบัติของวัสดุหลายประการคือ
1. ปริมาตรในสภาพเดิม (bank volume) หมายถึง ปริมาตรของวัสดุที่อยู่ในสภาพตามธรรมชาติซึ่งสามารถคิดได้จากการสำรวจและทำแผนที่ระดับ
2. ปริมาตรที่ฟูขึ้น (loose volume) หมายถึง ปริมาตรของวัสดุที่ผ่านการขุด และเคลื่อนย้ายจากสภาพที่อยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งปริมาตรที่ฟูขึ้นนี้ก็จะมากกว่าปริมาตรในสภาพเดิม
3. ปริมาตรที่ถูกบดอัด (compacted volume) หมายถึง ปริมาตรของวัสดุหลังจากที่นำมาถมหรือพูนขึ้นแล้วทำการบดอัด ปริมาตรที่ถูกบดอัดก็จะน้อยกว่าปริมาตรที่ฟูขึ้น แต่จะมากกว่าหรือน้อยกว่าปริมาตรในสภาพเดิมก็ได้ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุ
4. นํ้าหนักของวัสดุ (weight) นํ้าหนักของวัสดุจะขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุ ซึ่งจะหาได้ จากความหนาแน่นของวัสดุชนิดต่าง ๆ ตามสภาพของวัสดุ คือความหนาแน่นตามสภาพเดิม (bank density) และความหนาแน่น เมื่อวัสดุฟูขึ้น (loose density) โดยมีรายละเอียดดังตารางที่ 7.1
5. เปอร์เซ็นต์ที่ฟูขึ้น (percentage of swell) ก็คือเปอร์เซ็นต์ของการเพิ่มปริมาตรของวัสดุเมื่อถูกขุดขึ้นมาจากปริมาตรในสภาพเดิม เปอร์เซ็นต์ที่ฟูขึ้นนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุ
โดยมีรายละเอียดตามตารางที่ 7.3 ซึ่งเมื่อทราบเปอร์เซ็นต์ที่ฟูขึ้นก็สามารถที่จะหาปริมาตรที่ฟูขึ้นได้จากสมการคือ
ปริมาตรที่ฟูขึ้น = ปริมาตรในสภาพเดิม (1+เปอร์เซ็นต์ที่ฟูขึ้น )
100